การพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระครูสุทธิกิตยาภรณ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธีระภัทร ประสมสุข มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สังวาร วังแจ่ม มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เพ็ญพรรณ แสงเนตร มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาสถานศึกษา, ตามแนว PMQA, โรงเรียนพระปริยัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนา 2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษา 3) ตรวจสอบแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 193 รูป/คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.848 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน แล้วสรุปเป็นเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การนำองค์กร รองลงมา การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ผลลัพธ์การดำเนินการ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ตามลำดับ
  2. แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA คือ ควรนำฐานข้อมูลที่ทันสมัย เข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาใช้ในการจัดการความรู้ของข้อมูลสารสนเทศ จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและปลอดภัย มีการปรับปรุงข้อมูลความรู้ให้เป็นปัจจุบัน และควรมีการสำรวจความพึงพอใจในการจัดการความรู้ของสถานศึกษา เพื่อนำมาพัฒนาระบบการดำเนินการ และควรมีช่องทางในการรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีระบบการตอบกลับข้อสงสัยให้คำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  3. การตรวจสอบแนวทางส่งเสริมการพัฒนาสถานศึกษาตามแนว PMQA มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวม คิดเป็นร้อยละ 100

References

ขวัญชนก ธิรัตน์. (2563). แนวการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 225-233.

จำเริญ รัตนบุรี. (2557). การบริหารจัดการยกระดับคุณภาพตามเกณฑ์ PMQA โรงเรียนมาตรฐานสากล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual study). สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

บุษกร วัฒนบุตร. (2554). การประเมินสัมฤทธิผลคุณภาพการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA). ภาควิชารัฐศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภักดี เหมทานนท์. (2559). การบริหารงานวิชาการตามแนวทาง PMQA โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual study). สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา และนิ่มอนงค์ งามประภาสม. (2556). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนขนาดเล็กบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(3), 29-39.

วิรัตน์ พันกันทะ และพระครูภาวนาโสภิต. (2560). การนำองค์กรเข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 2(2), 90-97.

สันติ แสงระวี, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, และจำเริญ ชูช่วยสุวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3552-3571.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. https://www.opdc.go.th/content/Nzc

อภิวรรณ ยอดมงคล และสุจิตรา จรจิตร. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(1), 15-26.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. MIT Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30