ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามแนวทางพุทธศาสนา ที่นำมาใช้ในการทำงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์ในการทำงาน, บุคลากรมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความสัมพันธ์แนวพุทธของบุคลากรที่นำมาใช้ในองค์กรของมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ได้จากวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย 2) บุคลากรสายวิชาการ และ 3) บุคลากรสายสนับสนุน
ผลการวิจัยพบว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับบุคลากร มีการแสดงออกใน 3 ลักษณะหลัก ๆ คือ 1) ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน 2) หลักธรรมนำการบริหาร และ 3) ความสัมพันธ์แบบแนบราบ ส่งผลให้การทำงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกกดดันหรือมีความตึงเครียดจนเกินไป ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรด้วยกันเอง มี 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ 1) ความสัมพันธ์แบบครอบครัว และ 2) ยึดถือการเป็นผู้ให้ เป็นหลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในองค์กร การเชื่อมความสัมพันธ์ของบุคลากรในการทำงานใช้หลักแนวพุทธศาสนา และตระหนักถึงความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัย ที่ให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ และการปฏิบัติตนเป็นประจำของบุคลากรภายในองค์กร อันเป็นจริยธรรมที่บุคลากรทุกคนปฏิบัติร่วมกัน
References
เฉลิมขวัญ เมฆสุข และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทสยามฟิตติ้งส์ จํากัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(1), 33-50. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/120686
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2556). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. สองขาครีเอชั่น.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2553). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 11). ดี.เค.ปริ๊นติ้งเวิลด์.
ทิพวัลย์ รามรง และสานิต ฤทธิ์มนตรี. (2561). แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 185-208. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/181617
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. (2540). http://www.asc.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2015/05/mcu-act.pdf
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. (2540). สืบค้น วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/images/2563/pusit/legal-all/17p2540.pdf
พระมหาสันติ ธีรภทฺโท. (2562). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม ในการบริหารงานภาครัฐเพื่อความปรองดองในสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(3), 99-112. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/181698
สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา. https://info.mhesi.go.th/homestat_academy.php
อัจฉรา ปิยวิทยชาติ. (2559). รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรเพื่อความเป็นเลิศทางพุทธจริยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. MCU Digital Collections. https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/11
อัมพร ศรีประเสริฐสุข, สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์ และชัญญา ลี้ศัตรูพ่าย. (2562). ตัวแบบปัจจัยเชิงโครงสร้างของสุขภาวะในการทำงานของพนักงานสายวิชาการในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 25(1), 140-164. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/165019
Maslow, A. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). Harpers and Row.