แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล

ผู้แต่ง

  • เจนนิสตรา สิริศรีเสริมวงศ์ คณะการจัดการการท่องเที่ยว, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล, นักท่องเที่ยวรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล, สมรรถนะมัคคุเทศก์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยเดินทางท่องเที่ยวประเภทการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และหาอิทธิพลของตัวแปร โดยใช้ ค่าสถิติ One-way ANOVA และค่าสถิติการถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ปัจจัยด้านสมรรถนะของมัคคุเทศก์ที่ส่งผลต่อประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย พบว่า สมรรถนะด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้ในงานที่ได้รับมอบหมาย และความรู้และข้อมูลทั่วไป สมรรถนะด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะการนำเสนอ สื่อความหมาย และนักการขาย ทักษะนันทนาการ ทักษะวิชาชีพ ทักษะการใช้สื่อสังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการสร้างประสบการณ์ สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ได้แก่ ความภาคภูมิใจในงาน การตรงต่อเวลา การมีมนุษยสัมพันธ์ดี และจริยธรรมและจรรยาบรรณ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสบการณ์การท่องเที่ยว
  2. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของมัคคุเทศก์ เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ 1) การเสริมสร้างสมรรถนะของมัคคุเทศก์เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ 2) การเสริมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยสำหรับการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล

References

กนกกานต์ แก้วนุช. (2561). การเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจนำเที่ยวที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(36), 51-60. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/153910

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรมการท่องเที่ยว.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). แสงดาว.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโลกาภิวัตน์ : แนวทางการปรับตัวของมัคคุเทศก์ไทย (2). Dr.dancando. http://drdancando.com/ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโลกาภิวัตน์-แนวทางการปรับตัวของมัคคุเทศก์ไทย-2

ฉันทัช วรรณถนอม. (2557). หลักการมัคคุเทศก์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563, 16 มกราคม). ทีเส็บเปิดตัวโครงการ “ประชุมเมืองไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจไทย”. https://www.prachachat.net/tourism/news-411545

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง. (2563). หลักการและการจัดการงานมัคคุเทศก์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชราภรณ์ สุรภี และฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2556). การศึกษาความต้องการสมรรถนะของบุคลากรในอุตสาหกรรมการจัดประชุม นิทรรศการและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตรและการสื่อสาร, 8(2), 82-88. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54905

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2554). อุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

Jahwari, D. S. A., & Sirakaya-Turk, E. (2016). Evaluating communication competency of tour guides using a modified importanceperformance analysis (MIPA). International Journal of Contemporary Hospitality Management, 28(1), 195-218.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Schmitt, B. (1999). Experiential Marketing. Journal of Marketing Management, 15(1-3), 53-67. doi:10.1362/026725799784870496

Tang, H. (2014). Constructing a competence model for international professionals in the MICE industry: An analytic hierarchy process approach. Journal of Hospitality, Leisure, Sport & Tourism Education, 15, 34-49.

Thailand Convention and Exhibition Bureau. (2020). MICE Statistics. https://intelligence.businesseventsthailand.com/th/page/mice-dashboard

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28