การบูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนา เพื่อลดการเผาป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ แสนวังทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระพงษ์ระวี โหลิมชยโชติกุล (อุตฺตรภทฺโท) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาอดิสร อินฺทปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ทรงศักดิ์ พรมดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, การเผาป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร, หลักธรรมทางพุทธศาสนา, ภูมิปัญญาล้านนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผาป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาภูมิปัญญาล้านนาสำหรับประยุกต์ใช้ในการลดการเผาป่าฯ 3) บูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาในการลดการเผาป่าฯ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ชุมชนป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 382 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ประธาน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำกลุ่มเกษตรชุมชนวัดป่าตาล จำนวน 17 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผาป่าฯ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ย 2.69 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68 คิดว่าการเผาสามารถเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น 2) ด้านผลกระทบพบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.85 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 เช่น ผลกระทบต่อภาวะอากาศของโลก 3) การป้องกัน พบว่า มีค่าเฉลี่ย 3.79 อยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0. 31 เช่น การลดการเผาจำเป็นต้องอาศัยกลไกกฎกติกาในระดับพื้นที่ร่วมในการจัดการ
  2. ผลการศึกษาภูมิปัญญาล้านนาสำหรับประยุกต์ใช้ในการลดการเผาป่าฯ พบว่า การใช้ภูมิปัญญาด้านกฎจารีตประเพณีซึ่งเป็นภูมิปัญญาเรื่องการปกครอง การอยู่ร่วมกันของชุมชนใช้กฎหมายกฎแห่งกรรมกฎธรรมชาติ และกฎจารีตประเพณี เช่น การบวชป่า บวชต้นไม้ และความเชื่อในการจัดการไฟป่า (ป่าเปียก)
  3. การบูรณาการ พบว่า การบูรณาการหลักธรรม อาทิ 1) หลักศีล 5 2) หลักไตรสิกขา 3) หลักเมตตาธรรม 4) หิริ 5) โอตตัปปะ สามารถบูรณาการในการป้องกันปัญหาไฟป่าและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้

References

กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์. (2564). พัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทย: ในมิติด้านการพัฒนาชุมชน และคุณภาพชีวิต. วารสารพัฒนศาสตร์ปี, 4(1), 132-162. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/gvc-tu/article/view/252520

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2563/64. สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. https://www.opsmoac.go.th/saraburi-dwl-files-422891791102

กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). สรุปผลการดำเนินงานโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. http://alc.doae.go.th/wp-content/uploads/2020.pdf

จุฬา สินไพบูลย์. (2564). การจัดการวัสดุเหลือทิ้งเป็นศูนย์และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการผลิตไฟฟ้า โดยใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. DSpace at Maejo University. http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1157

เทศบาลตำบลบวกค้าง. (2564). ประวัติความเป็นมาของตำบลบวกค้าง. https://www.buakkhang.go.th/content/history

พระครูพิพิธจารุธรรม, พระครูสุมณธรรมธาดา เกื้อ ชัยภูมิ, และภูวเดช สินทับศาล. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช.

วิรัลพัชร บางปลากด. (2562). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการพึ่งตนเอง ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ บ้านพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(3), 838-853. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/139765

สายชล สง่าศรี, จีรศักดิ์ ปันลำ, และสมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์. (2565). การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักพุทธนิเวศวิทยาของหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารปัญญา, 29(1), 70-84. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/254323

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2565). ไฟป่า สถานการณ์ที่ไทยเผชิญอย่าต่อเนื่อง. https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=5414&lang=TH

อัจฉรีย์ ทิพธนธรณินทร์. (2558). แนวทางการแก้ปัญหาหมอกควันสำหรับจังหวัดเชียงใหม่. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4(1), 72-105. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/papojournal/article/view/120541

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28