แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาด โควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • สุนิสา พานทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทาง, การพัฒนา, การจัดการเรียนรู้, ครู, ผู้สอน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยาย 2) ศึกษาวิธีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส 3) เสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยเชิงสำรวจคือ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 ของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กระชับหลักสูตรโดยเน้นเนื้อหาจำเป็นตามมาตรฐานของแต่ละช่วงวัย การเลือกรูปแบบการเรียน การจัดกลุ่มตัวชี้วัดให้เป็นหน่วยการเรียนรู้
  2. วิธีการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพโรงเรียนทั่วไป การพัฒนาห้องเรียน การพัฒนาผู้เรียน และการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในแต่ละบทเรียน โดยเน้นความรู้และกระบวนการในการพัฒนาตนเองเพื่อความสมบูรณ์ของมนุษย์
  3. แนวทางการพัฒนาการจัดการนวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของครูในโรงเรียนขยายโอกาส ประกอบด้วย ครูควรสามารถกำหนดแผนการสอนและใช้เวลาที่เหมาะสม ครูควรสามารถเลือกรูปแบบการเรียนรู้สำหรับ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล และการจำแนกตัวบ่งชี้เป็นหน่วยการเรียนรู้ จะทำให้แผนการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

References

ชุติมา สดเจริญ. (2555, 30 สิงหาคม). การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/547039

พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต), และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143-154. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/view/246992

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563, 7 พฤษภาคม). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic

วราวัฒน์ นิ่มอนงค์. (2563, 28 เมษายน). การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (AFL). อินสครู. https://inskru.com/idea/M1_LCTzqfPOnRTrV1ol

ศุภวรรณ การุญญะวีร. (2564). การเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 48-55. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/258869

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01