รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา พิมพ์สาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ศูนย์การศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหาร 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความเที่ยงของเนื้อหา (Validity), ค่าเฉลี่ย (Mean,x̅ ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าสภาพปัจจุบันการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล

2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมมีระดับคุณภาพมากที่สุด

References

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/990

สุพันณี เชิดฉัน และธารินทร์ รสานนท์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 11(1), 23-38. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/edj/article/view/259712

สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ปัญญาชน.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา ฉบับปรับปรุง(พิมพ์ครั้งที่ 4). ข้าวฟ่าง.

ธีรภัทร โคตรบรรเทา. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 151-161. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/245264

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Educational administration: theory-research-practice (4 th ed.). McGraw-Hill, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30