การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา

ผู้แต่ง

  • กฤตยชญ์ ต่อมใจ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองรูปแบบ และ 4) ประเมินผลและพัฒนารูปแบบ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร ครู ผู้ปฏิบัติการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบประเมินกระบวนการรูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิเคราะห์สถิติพื้นฐาน นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเขียนสรุปแบบบรรยายพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา ยังขาดปัจจัยการเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ขาดมาตรการการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านวินัยให้มีความชัดเจน ปัจจัยการจัดการเรียนการสอน และการเตรียมความพร้อมของครู
  2. การสังเคราะห์รูปแบบมีขั้นตอนคือ 1) การควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย 2) การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน 3) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 4) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 5) การให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานและให้เพื่อน ครู ร่วมกันประเมินสะท้อนผลการเรียนรู้ 6) การให้ผู้เรียนและครูช่วยเชื่อมโยง สรุปผลการเรียนรู้ 7) การสรุปรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้
  3. การทดลองรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย มีการดำเนินการปฏิบัติด้านการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมตามวงจรคุณภาพ PDCA และมีขั้นตอนดำเนินงาน 7 ขั้นตอนตามรูปแบบที่กำหนด

          4. การประเมินกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย ผู้ประเมินร้อยละ 54.62 ให้ระดับคุณภาพ มาก ร้อยละ 24.37 ให้ระดับคุณภาพมากที่สุด และร้อยละ 14.29 ให้ระดับคุณภาพ พอใช้ ตามลำดับ สรุปผลการประเมินเฉลี่ยร้อยละ 95 และได้ “ผ่าน” และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมวินัย โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x̅) เท่ากับ 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2544). การบริหารกิจการนักเรียน กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

เกษรา เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2563). การเสริมสร้างวินัยนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3231

ชาลี ภักดี, พศิน แตงจวง, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์, พระครูวิทิตศาสนาทร, และพระมหาสกุล มหาวีโร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์โดยวิธีโครงงานเพื่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 53-66. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/view/212162

ทิศนา เขมมณี และคณะ. (2545). กระบวนการเรียนรู้. พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ประเวศ เวชชะ. (2561). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Piyanart_Bunmepipit _Doctor/Fulltext.pdf

โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา. (2563). รายงานประเมินตนเอง (SAR). โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรรถพล เชาวน์ประยูร. (2549). แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:105479

อุไร ซิรัมย์, พรทิพย์ ไชยโส, พิกุล เอกวรางกูร, และทรงชัย อักษรคิด. (2563). เทคนิคการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 193-206. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/spurhs/article/view/227304

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30