ศึกษาการพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • วารุณี มงคลฤดี สาชาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูบวรชัยวัฒน์ - สาชาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชน, หลักพรหมวิหารธรรม, ผู้นำชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน 2) ศึกษาหลักพรหมวิหารธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ และหากผู้นำชุมชนได้นำหลักพรหมวิหารธรรม อันประกอบด้วยองค์ธรรมทั้ง 4 คือ เมตตา เป็นความรัก ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข, กรุณา เป็นความสงสารคิดอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์, มุทิตา เป็นความยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข, อุเบกขา เป็นการวางใจเป็นกลางอันดำรงอยู่ตามธรรมที่พิจารณาด้วยปัญญา ในพระพุทธศาสนาเถรวาทมาใช้เป็นหลักธรรมประจำใจด้วยแล้ว ย่อมทำให้ชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าและเกิดการพัฒนายิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาชุมชนด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้นำชุมชน ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จึงถือเป็นจุดชี้วัดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้ผู้นำชุมชนจำเป็นต้องพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การให้การศึกษาชุมชน ด้านการจัดระเบียบชุมชน และด้านการดำเนินงานตามกระบวนการชุมชน ที่ผู้นำได้นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีความสงบสุข มีคุณภาพและมีความเป็นอยู่ที่ดี เนื่องจากชุมชนจึงถือเป็นทุนทางสังคมที่เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ และหากผู้นำชุมชนมีการประยุกต์ใช้หลักพรหมวิหารธรรมมาการพัฒนาชุมชนด้วยแล้ว สมาชิกในชุมชนย่อมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

References

คะนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2528). การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ ศรีสวัสดิ์. (2542). สังคมวิทยาชนบท. คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) (2542). จากสุขในบ้าน สู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 3). สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโตฺ). (2547). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. โรงพิมพ์การศาสนา.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). โอเดียนสโตร์.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580).สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น ปัญหาการเมืองการปกครองระดับชาติที่มีสาเหตุมาจากการปกครองท้องถิ่นที่ไม่พอเพียง. ศูนย์การศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

United nation. (1955). Social progress through community development. United nation Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-30