การออกเสียงประชามติ

ผู้แต่ง

  • เจษฎา ไชยตา มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การลงประชามติ, อำนาจอธิปไตย, รัฐธรรมนูญ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาถึงความเป็นมา แนวความคิด ประเภทของการลงประชามติ การนำการลงประชามติไปใช้ในระบบการเมืองการปกครอง แม้การลงประชามติในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเองก็มีข้อจำกัดบางประการแต่ข้อจำกัดบางประการของการลงประชามติในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยก็หาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธการกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิลงประชามติในประเด็นปัญหาบางประเด็นไม่ ปัญหาข้อจำกัดของการลงประชามติในการปกครองระบบประชาธิปไตยในปัจจุบันจึงมักเป็นการถกเถียงถึงมุ่งเน้นการนำการลงประชามติไปใช้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหลัก โดยลืมมองไปถึงการนำการลงประชามติไปใช้แก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ หรือการนำการลงประชามติไปใช้กับการให้การรับรองหรือการไว้วางใจผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในระบบการเมืองการปกครอง

References

กมลชนก เจียวิวัฒนวงศ์.(2554). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

กระมล ทองธรรมชาติ. (2531). การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล. ฝ่ายวิจัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤช เอื้อวงศ์.(2550). พร้อมหรือยังกับการออกเสียงประชามติครั้งแรกของประเทศไทย?. สถาบันพระปกเกล้า.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2541). ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยกับการลงประชามติ. บทบัณฑิตย์, 54(4), 173-180.

คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, พัชรี สิโรรส, และถวิลวดี บุรีกุล. (2544). ตัวอย่างเทคนิค การมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. สถาบันพระปกเกล้า. https://elib.life.ac.th/wp-content/uploads/ 2021/06/12-ตย-เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.pdf

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2538). ระบบการออกเสียงแสดงประชามติ. สถาบันพระปกเกล้า.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ. นิติธรรม.

ไพโรจน์ ชัยนาม. (2495). คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (สังเขป) เล่ม 1 ข้อความเบื้องต้นและหลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราพร ธนาศรีมงคลกุล. (2551). ผลผูกพันการออกเสียงประชามติ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.https://digital.library.tu.ac.th/ tu_dc/frontend/Info/item/dc:111735

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2549). สารานุกรรมการเมืองไทย. ส.เจริญการพิมพ์..

สมภพ โหตระกิตย์. (2512). คำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาค 2. น่ำเซียการพิมพ์.

หยุด แสงอุทัย. (2513). คำบรรยายชั้นปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ หลักรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งทั่วไป. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

ไชยตา เ. (2024). การออกเสียงประชามติ. ปัญญา, 31(3), 131–142. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/panya-thjo/article/view/277314