ศึกษาแนวทางการจัดการงานนมัสการพระธาตุพนมเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการ, เชิงพุทธ, งานนมัสการ, พระธาตุพนมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและสภาพปัญหาของการจัดงานนมัสการพระธาตุพนม และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการงานนมัสการพระธาตุพนมเชิงพุทธ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า งานนมัสการพระธาตุพนมจัดขึ้นอีกครั้งเมื่อท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล
จากจังหวัดอุบลราธานี นำพาชาวบ้านทั้งชาวธาตุพนมและชาวอุบลฯ ร่วมกันบูรณพระธาตุพนม ปีพ.ศ. 2444-2449 ด้วยการซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนม ครั้นแล้วเสร็จได้ทำการฉลองพระธาตุในวันเพ็ญเดือน 3 มีพุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ เดินทางมาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดงานนมัสการพระธาตุพนม และสภาพปัญหาพบหลายด้านคือ ด้านคน ด้านเงิน ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านสถานที่
แนวทางการจัดการงานนมัสการพระธาตุพนมเชิงพุทธ พบว่า การจัดการคนใช้หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 คนได้มีโอกาสทำทาน เสียสละสิ่งของเพื่อละความตระหนี่ รักษาศีลมีกฎระเบียบในการดำเนินงาน ภาวนา การฟังพระธรรมเทศนา มีจิตใจฝักใฝ่ในการบำเพ็ญกุศล การจัดการเงินหลักสาราณียธรรม หมายถึงมีการแบ่งปันลาภผล การจัดสรรผลประโยชน์ให้กับองค์กรอย่างเป็นธรรม การจัดการวัสดุอุปกรณ์ใช้หลักอัตถะ 3 คือ ประโยชน์ตนเอง ได้แก่ วัดมีอุปกรณ์ในการจัดงาน จึงไม่สิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดหาใหม่ ประโยชน์ผู้อื่น ได้แก่ พุทธศาสนิกชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และประโยชน์สูงสุด เน้นการใช้สอยประโยชน์ มุ่งประโยชน์ต่อชุมชน และการจัดการสถานที่ใช้หลักปฏิรูปเทส ใช้เป็นสถานที่การแสวงบุญและทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา การจัดการภาพรวมเน้นการมีส่วนร่วมของสังคม มีการประชุม การมอบหมายงานการติดตามและการประเมินผลงาน ทางคณะสงฆ์ร่วมกับหน่วยงานราชการเป็นผู้ดำเนินการอย่างชัดเจน
References
Dhamrongkhun, S. (2012). Northeast land. Bangkok: Ancient City.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University.(1996). Tipitaka. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
Phra Ariyanuwat Khemacharimahatera. (1993). The Belief of the Isan people. 4th edition. Bangkok: Chulalongkorn University.
Phra Phrom Khunaporn (Prayuth Payutto). (2015). Buddhist Dictionary The processed fairly. Edition 10. Bangkok: Publisher spring Dhamma.
Rawarhin, N. (2018). Urungatatu 1167. 1st edition. Mahasarakham: Apichart edition.