ศึกษาการอฺธิบายหลักธรรมของพระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร) ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนชาวพุทธในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พระมหาฤทธิชัย สุมนฺตภาณี (พรมพินิจ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระ โสภณพัฒนบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การอธิบายหลักธรรม, ผลต่อการดำเนินชีวิต, ชุมชนชาวพุทธ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชีวิตและผลงานของพระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร) 2) ศึกษาการอธิบายหลักธรรมของพระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร) 3) ศึกษาการอธิบายหลักธรรมของพระเทพวรมุนี (สำลี ปญฺญาวโร) ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนชาวพุทธในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า พระเทพวรมุนี ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือและศรัทธา ท่านเป็นผู้นำทางความคิดที่มีความรู้ความสามารถอธิบายหลักธรรมไปสู่ประชาชนได้อย่างดี มีผลงานที่เป็นประโยชน์เพื่อสังคมในด้านการปกครอง ศาสนศึกษา สาธารณูปการ ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ การเผยแผ่ ท่านเป็นพระมหาเถระที่มี ศีลาจารวัตรงดงาม สงบ ร่มเย็น มีจิตใจโอบอ้อมอารี
พระเทพวรมุนี ท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีความชำนาญในการอธิบายธรรมะตามกลวิธีทั้ง 4 ส คือ 1) อธิบายให้แจ่มแจ้ง 2) อธิบายให้จูงใจ 3) อธิบายให้หาญกล้า 4) อธิบายให้ร่าเริง โดยท่านจะยกพุทธสุภาษิต ยกบุคลาธิษฐาน การอุปมาอุปไมย นำมาอธิบายในรูปแบบการบรรยาย แสดงธรรม ปาฐกถาธรรม และในรูปแบบการประพันธ์หนังสือ โดยมีคำกลอน คำผญา สรภัญญะ คำคม เป็นตัวสอดแทรกเพื่อให้การอธิบายธรรมมีความน่าสนใจ
การอธิบายธรรมของพระเทพวรมุนีส่งผลให้เกิดแก่พุทธศาสนิกชน 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพชีวิตมีชีวิตเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีทั้งทางกายและทางจิตใจ 2) ด้านสังคม ปะชาชนมีความเอื้ออาทรรักใคร่สามัคคีต่อกัน 3) ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนเข้าใจถึงการประหยัดอดออมใช้จ่ายเงินอย่างมีสติ มีภูมิคุ้มกันในการใช้จ่าย 4) ด้านจริยธรรม ประชาชนมีพฤติกรรมที่ดีดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย วาจาและจิตใจ 5) ด้านความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา

References

Chareonsuk, P. (1996). Buddhism Propagation Manual. Bangkok: Department of Religious Affairs.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press.

Phramaha Narongsak Sopanasitthi. (2006). Studying the role of Buddhism Propagation of Dhammapariyadhamma stage (Suthep Phusatthammo). Master of Thesis in Buddhism. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Rungphet Chavanapanyo. (2005). Study the form and method of propagating Buddhism of Phra Thammakittiwong (Thongdee Suratechote). Master of Buddhist Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Rājavaramuni (Prayut Payutto). (1988). The Teachings of the Lord Buddha. Bangkok: Phutthatham Foundation.

Prachanpol, D. (2013). Study of the dissemination of the Dharma of Phra Thep Sitthi-Mongkhon (Saner Siripanyo). Master of Buddhist Thesis. Graduate School: Mahachu lalongkornrajavidyalaya University.

Punyanupap, S. (1981). Comparative Religion. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Wasinsakorn, W. (2003). Thai Education. Bangkok: Academic Quality Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)