การบรรเทาอาการป่วยเรื้อรังผู้สูงอายุด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 ของศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุ วัดหนองแวงพระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การบรรเทา, อาการป่วยเรื้อรัง, หลักสติปัฏฐาน 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักและวิธีปฏิบัติของหลักสติปัฏฐาน 4 2) ศึกษาสภาพปัญหาของผู้ป่วยเรื้อรังของศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุวัดหนองแวงพระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ศึกษาการบรรเทาอาการป่วยเรื้อรังด้วยหลักสติปัฏฐาน 4 ของศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุวัดหนองแวงพระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยด้วยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเรื้อรังของศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุวัดหนองแวงมีปัญหาที่คล้ายคลึงกันอยู่ 5 ประการ ได้แก่ 1) เบาหวาน 2) ความดันหัวใจ 3) ภาวะซึมเศร้า 4) วิตกกังวลหดหู่ใจ และ 5) ขาดการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น จากหลักการและวิธีปฏิบัติควบคู่กับทางการแพทย์ทำให้อาการป่วยเรื้อรังมีอาการบรรเทาเบาบางมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางกายและจิตใจทั้งผู้ป่วยและครอบครัว หลักธรรมที่บรรเทาอาการป่วยเรื่อรังของผู้สูงอายุ ได้แก่ หลักเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นการกำหนดรู้เวทนาเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย โดยมีหลักปฏิบัติที่เกื้อหนุนต่อการบรรเทาความเจ็บป่วย ได้แก่ ความระลึกรู้ ความไม่ประมาท มีจิตตั้งมั่น มีความอดทน เห็นสภาพตามความเป็นจริง เมื่อนำปฏิบัติปรับใช้แล้วส่งผล คือ 1) เกิดความเข้าใจในชีวิตว่าความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา 2) มีความเข้าใจเรื่องธาตุ 4 ขันธ์ 5 เป็นของไม่ยั้งยืนบังคับไม่ได้ 3) มีความระลึกรู้ที่ปฏิบัติในสิ่งที่ดีด้วยความไม่ประมาท และ 4) มีความเข้าใจในการกำหนดรู้ความสุข ความทุกข์ ความไม่สุขไม่ทุกข์เป็นกฎธรรมชาติไม่สามารถบังคับได้ เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยช่วยบรรเทาอาการป่วยเรื้อรัง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
References
Chamburi, D. (2002). The Development of Health Empowerment in Chronic Disease Patients. Doctor of Education. Graduate School: Srinakharinwirot University.
Kulsirachai, B. (2012). Reducing depression in sufferers by receiving Phochong-Parit chanting under consciousness. Doctor of Buddhist Thesis. Graduate School: Mahachulalong kornrajavidyalaya University.
Mahachulongkornrajavidyalaya University. (1996). Tipitaka. Bangkok: Mahachulongkornrajavidyalaya printing.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2009). Brahman: teachings of the Buddha and teachings of the Buddha. 11th Edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya printing house.
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2010). Modern medicine in the Buddhist landscape. Bangkok: Thamsan Company Limited.
Phra Thammolee. (2009). Analytical Study of Way of Life Department of Health and Behavior Holistic health care of monks that appear in the Tripitaka. Doctor of Philosophy Program. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Rungratmanimat, Ch. (2012). Exercising in Hypertensive Patients, In Education Manual to manage hypertension by oneself, Yanyawan Thanamai and the Faculty of Public Works. Bangkok: Office of Public Affairs, Veterans' Organization.
Tansakul, Ch. (1998). public health behaviors. Bangkok: United Commercial Printing plant.