การศึกษาวิเคราะห์เรื่องทุกข์ที่ปรากฏในงานประพันธ์ทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

Main Article Content

พระภาณุวัฒน์ จนฺทวฑฺฒโน (จันทาพูน)
พระครู สุธีคัมภีรญาณ
พระ โสภณพัฒนบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเรื่องทุกข์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาเรื่องทุกข์ในทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3) ศึกษาวิเคราะห์วิธีอธิบายเรื่องทุกข์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research)
ผลการวิจัยพบว่า ทุกข์ หมายถึง สภาวะบีบคั้น กดดัน เป็นหลักธรรมที่ปรากฏมีอยู่มากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งนี้พระพุทธเจ้าก็ได้เน้นย้ำว่าทรงสอนเพียงเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ ทั้งนี้ทุกข์ถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ กายิกทุกข์ คือ ทุกข์ทางกาย และเจตสิกทุกข์ คือ ทุกข์ทางใจ ชีวิตมนุษย์ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในทุกขสภาวะ มีความเสื่อม ความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติธรรมดา ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมุ่งให้ศึกษา กำหนดรู้ความทุกข์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้มองความทุกข์ผ่านปัญหาของชีวิตมนุษย์ โดยนิยามความทุกข์ไว้สองบริบทด้วยกันคือ ทุกในระดับสังขาร คือ ทุกข์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยชีวิต มีความเจ็บไข้ความทุกข์ โทมนัส ความเดือดเนื้อร้อนใจ เป็นต้น ได้นิยามความทุกข์ในบริบทของสังคมผ่านคำว่าปัญหา ซึ่งมีผลต่อมนุษย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ผลการวิเคราะห์พบว่า ความทุกข์ตามนัยอธิบายของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีความเชื่อมโยงกันระหว่างมนุษย์กับสังคมอย่างเป็นระบบ ในที่นี้หมายรวมถึงระบบนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อมทั้งหมดโดยปัจจัยที่สามารถควบคุมได้คือมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญที่พระพุทธศาสนามุ่งเน้นพัฒนาที่ตัวบุคคลมากกว่าวัตถุเอื้ออำนวยความสะดวก และการจะบำบัดทุกข์ได้นั้นก็ด้วยวิธีการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ ในปัญญาระดับสัมมาทิฏฐิ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Dokbua, F. (2014). Birth Cycle in Buddhism. 3rd edition. Bangkok: Siam Publishers.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitaka. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2015). Expanded version of Buddha Dharma. 39th edition. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2018). Buddhist Dictionary Vocabulary version. 1st edition 31. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Dhammapitฺaka (P.A. Payutto). (1994). History of Dhamma Practice, Prayut Payutto. Bangkok: Thammasapa.

Thongprasert, C. (2018). Application of Buddhism. Bangkok: Chulalongkorn University Press.