การศึกษาคุณค่าในการบูชาพระธาตุอีงฮังของชาวแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • พระบุญสูง ปญฺญาวชิรเมธี (เส็งมณีวงศ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • โสวิทย์ บำรุงภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบูชา, พระธาตุอีงฮัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาพระธาตุอีงฮังในสปป.ลาว 2) ศึกษาการประกอบพิธีกรรมการบูชาพระธาตุอีงฮังของชาวลาว และ 3) ศึกษาคุณค่าในการบูชาพระธาตุอีงฮังของชาวแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต แบบสนทนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ จำนวน 6 รูป เจ้าหน้าที่แผนกวัฒนธรรมแขวง 4 คน กลุ่มผู้นำชุมชน 5 คน กลุ่มประชาชน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 22 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า พระธาตุอีงฮังเป็นที่พระพุทธเจ้าฉันภัตตาหารที่ต้นไม้ฮัง เป็นสถานที่รำลึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกสันหลัง) ของพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์รวมจิตใจ และความสามัคคีของชาวพุทธลาว
การประกอบพิธีกรรมการบูชาพระธาตุอีงฮังของชาวลาวประกอบด้วยการบอกกล่าวเจ้าที่ตั้งกองบุญ 4 กอง ต้นกัลปพฤกษ์ 4 ต้น พาหวาน 4 พา มะพร้าว 4 ลูก แต่งขันธ์ 5 ขันธ์ 8 นิมนต์พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ ผูกข้อต่อแขน ที่จัดว่าเป็นพิธีกรรมพิเศษคือการแก้บนต่อพระธาตุอีงฮังจะไม่ให้เกินเที่ยง โดยถือคติว่าพระพุทธเจ้า ก็เป็นการประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุข และทั้งแก่ผู้จัดพิธีกรรมและผู้มาร่วมงานในพิธีกรรม
การประกอบบูชาพระธาตุอีงฮังของชาวลาวได้ส่งผลให้เกิดคุณค่าใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านประเพณีวัฒนาธรรม คือ การบูชาพระธาตุได้รับการสืบทอดไปถึงลูกหลาน อีกด้านเศรษฐกิจ คือ การบูชาพระธาตุอีงฮังช่วยทำให้ ซึ่งเกิดรายได้ในชุมชน ด้านพระพุทธศาสนา คือ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการศึกษาสืบสานเผยแผ่ผ่านการประกอบพิธีกรรมในการบูชา และด้านจิตใจ คือ ชาวพุทธลาวมีความดีใจได้ทำบุญ คนผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านชุมชนและสังคม

References

Phra Dharmrachanuwat (Kaewutum Mala). (1987). Orangkarn Tales. 10th edition. Bangkok: Neil Nara Printing.

Phra Wongsakorn Sumetho (Thep Phanomphon). (2012). analytical study of the importance of Phra That Ing Hang on the way of life of the people. Master of Buddhist Thesis. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Thimwatbunthung, S., et al. (2007). The Research of Vignette Design on That (stupa) Inghang Savannakhet Province. Journal of Education, 8(1), 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)