เสรีภาพตามทัศนะของฌอง ฌากส์ รุสโซกับพุทธทาสภิกขุ

ผู้แต่ง

  • พระมหานิกร ปโมทิโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูภาวนา โพธิคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อุทัย กมลศิลป์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • สุรพันธ์ สุวรรณศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เสรีภาพ, การเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องเสรีภาพตามทัศนะของฌอง ฌากส์ รุสโซ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องเสรีภาพตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ 3) เพื่อเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องเสรีภาพตามทัศนะของฌอง ฌากส์ รุสโซกับพุทธทาสภิกขุ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ธรรมชาติแรกเริ่มของมนุษย์มีเสรีภาพติดตัวมาแต่กำเนิด มนุษย์จึงมีสิทธิ์ที่จะกระทำการใดๆ ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรค เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน และการนับถือศาสนา เมื่อมนุษย์มีการเข้าร่วมเป็นสังคมเดียวกัน เพื่อป้องกันการถูกกดขี่จากชนชั้นปกครอง ที่จะขัดขวางต่อกระบวนการเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มนุษย์เข้าถึงอุดมคติแห่งเสรีภาพ ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง
2. ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์นั้นมีจิตใจที่บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อันเป็นความทะยานอยาก ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่สำคัญกับการดำเนินชีวิต สภาพจิตใจของมนุษย์มีอิสรภาพจากพันธนาการทั้งปวง
เมื่อสังคมมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว มีความยึดมั่นครอบครองในอำนาจของตนด้วยความเห็นผิด การจะเข้าถึงความเป็นอิสรภาพอย่างแท้จริงได้นั้นจะต้องอาศัยศีลธรรมเพื่อให้สังคมมนุษย์มีธรรมภายในจิตใจ
3. เสรีภาพของฌอง ฌากส์ รุสโซกับพุทธทาสภิกขุมีความเหมือนกันในเรื่องของสันติภาพ เพราะต่างก็มีความต้องการให้สังคมมีความสงบสุข ส่วนความต่างกันนั้น รุสโซจะให้ความสำคัญทางกายภาพที่ถูกครอบงำด้วยความเป็นทาส เช่น การถูกเอาเปรียบจากกฎเกณฑ์ทางการเมือง ในขณะที่พุทธทาสภิกขุมองว่า การเข้าถึงกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เป็นสภาวะของความว่างจากการครอบงำจากสิ่งทั้งปวง มนุษย์จะต้องสละความเห็นแก่ตัวเพื่อสังคมส่วนรวม นั่นคือความมีอิสรภาพภายในจิตใจที่ปราศจากตัวตน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)