ปัญหาการทอดทิ้งสัตว์ในสังคมไทยกับแนวคิดประโยชน์นิยม

Main Article Content

พนมพร แสนประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการทอดทิ้งสัตว์ในสังคมไทยผ่านแนวคิดประโยชน์นิยมของจอห์น สจ็วต มิลล์ พบว่า ชนิดของสัตว์ที่ถูกทอดทิ้งมากที่สุด คือ สุนัข และแมว สาเหตุที่มาเจ้าขาดจิตสำนึกรับผิดชอบ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงที่ถูกต้อง ไม่มีการควบคุมการขยายพันธุ์ ไม่มีการหาขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม สัตว์เจ็บป่วยจนเกิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาหรือสุนัขมีนิสัยดุร้ายขึ้น จึงนำสุนัขไปปล่อย และจำนวนข้อมูลสุนัขไม่มีเจ้าของทั่วประเทศเพียง 73,136 ตัว แมวไม่มีเจ้าของ 37,849 ตัว รวมทั้งสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของเพียง 110,985 ตัว การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันคือการสร้างศูนย์พักพิงสัตว์
การวิเคราะห์ปัญหาการทอดทิ้งสัตว์ในสังคมไทยผ่านแนวคิดประโยชน์นิยมของจอห์น สจ็วตมิลล์ พบว่า กรณีที่เจ้าของละเลยต่อสัตว์เลี้ยงหรือทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงจนก่อให้เกิดปัญหาสังคม เป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมซึ่งสร้างความทุกข์ ความลำบากในการดำเนินชีวิตให้กับคนส่วนใหญ่ในสังคม การฆ่าสัตว์ที่ถูกทอดทิ้งในฐานะที่สัตว์เป็นภาระสังคม และสัตว์นั้นทำร้ายคนในสังคม ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เป็นการฆ่าสัตว์หนึ่งชีวิตเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชนหรือแม้สัตว์จะมีมากกว่าหนึ่งชีวิตก็ตามการฆ่านั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะทำให้คนส่วนมากรู้สึกว่ามีความปลอดภัยในชีวิต เนื่องจากทฤษฎีประโยชน์นิยมของ จอห์น สจ็วต มิลล์ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าสัตว์นั้นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

Albert, E. M. (1984). Great Tradition in Ethics. California: Wadsworth lnc.

Attaphat, C. (1977). Ethics. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Boonyanate, N. (1996). Western ethics: Kant, Mill, Hobbes, Rawls, Sartre. Bangkok: Chulalongkorn University.

Bunchua, K. (1979). Encyclopedia of Philosophy. Bangkok: Thai WattanaPanich.

Department of Livestock Development. (2020). Rabies Situation. http://www.thairabies.net/trn/ (Accessed 4 April 2020).

Department of Livestock Development. (2020). Strategic plan for the implementation of the ‘Animal Free, People Safe from Rabies’ project following the wishes of Professor Dr. Her Royal Highness Princess ChulabhornKrom Phra Srisavangavadhana, between 2017-2020.

Department of Local Administration, Ministry of Interior. (2019). Guidelines for animal shelter management. Bangkok: Department of Local Administration.

Indasara, W. (1975). Ethics. Bangkok: Bunnakarn.

Kerdkaew, T. (2010). Buddhist Philosophy, Dimension of Worldview and Real Life. Samut Prakan: Huachiew Chalermprakiet University Press Project.

Matichon Weekly. (2017). Over 800,000 stray dogs and cats found nationwide, with more than 2,900 complainants within Bangkok alone. https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_58620 (Accessed 29 March 2020).

Robson, J. M. (1951). Utilitarianism, Liberty, Representative Government. New York: E.P. Dutton and Company.

Thai Civil Rights and Investigative Journalism. (2019). Do Thai people know? People in Bangkok want Bangkok to be free of stray dogs and cats. https://www.tcijthai.com/news/2019/5/scoop/9021 (Accessed 10 January 2020).

Thai Public Broadcasting Service. (2019). Number of stray dogs and cats expected to rise to 5 million with in 20 years, registration review needed. https://news.thaipbs.or.th/content/277221 (Accessed 4 April 2020).

The Royal Institute. (2003). The Royal Institute Dictionary 1999. Bangkok: Nanmeebooks Publication.