การศึกษาวิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก

Main Article Content

พระสุกรี ยโสธโร
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
จรัส ลีกา
อุทัย กมลศิลป์
สุรพันธ์ สุวรรณศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจริยธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) ศึกษาวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก 3) วิเคราะห์จริยธรรมของตัวละครในวรรณกรรมพระเวสสันดรชาดกเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักจริยธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีงามและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น คือ ศีล ควบคุมกาย วาจาระดับกลาง คือศีลกรรมบถ 10 ควบคุมกาย วาจา ใจ และระดับสูง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ควบคุมกาย วาจา ใจ และพัฒนาปัญญา จริยธรรมที่ปรากฏในพระเวสสันดรชาดกได้แก่ ทศพิธราชธรรม พรหมวิหาร กตัญญูกตเวที สังคหวัตถุ พรหมวิหาร หลักทิศ 6
2. วรรณกรรมพระเวสสันดรชาดก มี 13 กัณฑ์ เริ่มจากกัณฑ์ที่ 1 คือทศพรกัณฑ์จนถึงกัณฑ์ที่ 13 คือ นครกัณฑ์ มีเนื้อหาที่กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระเวสสันดร มีอานิสงส์ในการฟังเทศน์มหาชาติให้จบในวันเดียวทั้ง 13 กัณฑ์ ดังนี้ 1) ได้พบพระศรีอาริย์ 2) ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 3) ไม่เกิดในอบายภูมิ 4) จะเกิดเป็นมนุษย์ในยุคของพระศรีอาริย์ 5) จะได้บรรลุนิพพาน และมีคุณค่าดังนี้ 1) คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ 2) คุณค่าทางด้านสังคม และ 3) คุณค่าทางจริยธรรม
3. การวิเคราะห์จริยธรรมผ่านตัวละคร พบว่า 1) พระเวสสันดร ได้แก่ ทศพิธราชธรรมและสังคหวัตถุ 2) นางมัทรี ได้แก่ พรหมวิหาร 4 และทิศ 6 3) พระชาลี-พระกัณหา ได้แก่ หลักกตัญญูกตเวที 4) ชูชก ได้แก่ ตัณหา และโลภะ 5) หลักทิศ 6 และหลักกตัญญูกตเวที ได้แก่ นางอมิตตตา 6) พระเจ้าสญชัย ได้แก่ ทศพิธราชธรรม และ 7) พระนางผุสดี ได้แก่ หลักพรหมวิหารธรรม และหลักทิศ 6

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)