แนวทางการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธธรรม กรณีศึกษา: วัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระปลัดดำรงศักดิ์ ปะนันโต
ธีระพงษ์ มีไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธธรรม กรณีศึกษา: วัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ใช้เครื่องมือคือ การสัมภาษณ์ การสังเกต และสนทนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 รูป/คน นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ และนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านบ่อใหญ่ มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ก่อตั้งหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2325 เป็นคนชาวเหล่าฮกหรือเมืองสรวง อยู่ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพรานชอบล่าสัตว์เป็นอาหาร ในอดีตพื้นที่ถิ่นแถบนี้เป็นป่ารกทึบมีช้าง เสือ กวาง ลิง และสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน จึงมีการตั้งหมู่บ้านขึ้นและตั้งชื่อหมู่บ้านตามหนองน้ำว่า “บ้านหนองบัวแดง” ต่อมามีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงมีการตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน” และตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านบ่อนกเขา” ต่อมาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบ่อใหญ่” ในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม และมีคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา ได้มีการตั้งวัดขึ้นนามว่า “วัดโพธิ์ศรีบ่อใหญ่” มีการก่อสร้างถาวรวัตถุซึ่งจัดเป็นต้นทุนทรัพยากรที่ทรงคุณค่าทางศาสนาจัดเป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จำนวน 7 ฐาน คือ 1) ลานธรรมบริรักษ์โพธิ์ศรีบัวทอง 2) ศาลเจ้าปู่บ่อใหญ่ 3) พระอุโบสถหลังใหม่ 4) ลานพระพุทธเมตตามหาลาภ 5) สิม 6) ลานธรรมพุทธธรรม 7) ฌาปนสถาน จัดเป็นแหล่งเรียนรู้หลักพุทธธรรม นำอธิบายให้เข้าใจในฐานการเรียนรู้ที่ได้สร้างขึ้นอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Amornviwat, S. (2000). Learning Reform Learners are the most important. Bangkok: Office of the National Education Commission.

Maslow, A. H. (1998). Motivation and personality. New York: Harper & Row.

Nun Nerashar Saksirisampant. (2013). The Buddhist Administrative Method for the Development of the Monastery Meditation Centers. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Panjancharoen, S. (2018). Management: Perspective from the past to the present and the future. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phra Phaisan Wisaro. (2009). Forming the mind. Bangkok: Wan Sawangchit School.

Phra Phromgunaporn (P.A. Payutto). (2007). Standing development. 3rd edition. Bangkok: Sahamnik.

Phramaha Ruengdeth Thavornthammo. (2011). Management of Sangha affairs to be a learning center of Wat Phai Lom community Chanthanimit Subdistrict Mueang Chanthaburi District Chanthaburi Province. Research Report. Ayutthaya : Mahachula longkornrajavidyalaya University.

Phuwiphadawat, S. (2001). Adherence to learners as a center and actual assessment. 4th edition. Chiang Mai: Limited Partnership Chiang Mai Saeng Silp Printing House.

Ployngam, J. and Phramaha Mit Thitapanyo (Wanyao). Tell the Heart to be Happy. Dhammathas Academic Journal, 20(2), 205-214.

Pongsapich, A. (2000). Dhammarat and Civil Society in Good Governance. 1st edition. Bangkok: Public Administration Association of Thailand

Santisombat, Y. (2005). System, beliefs and social values. Bangkok: Matichon.

Sindhuwong, K. (2002). Student-centered learning reform: principles to practice. KhonKaen: LP Partnership, Klang Nana Wit.

Suksriwong, S. (2007). Management: from an executive perspective. 3rd edition. Bangkok: GP Cyber Publishing.

Witchawut, S. (2011). Learning Psychology. Bangkok: Thammasat University.

Wuthichan, Ch. (1983). Development of Sangha Affairs and Religion for national security: a personal research document in the form of social psychology. Bangkok: Department of Religious Affairs.