อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างที่มีต่อวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

พระมหาปพน กตสาโร
อนุธิดา บุญตะวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างต่อวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง 2) ศึกษาอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างต่อปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีคนลุ่มน้ำโขง 3) ศึกษาอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในการสร้างความสามัคคีคนลุ่มน้ำโขง เป็นการวิจัยเซิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสังเกตพฤติกรรม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างต่อวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขง คือปรัชญา แนวคิด ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณต่างๆ เช่น ผีสาง เทวดา ผีบ้าน ผีเรือน นางไม้ ผีพ่อ ผีแม่ ผีปู่ย่า ตายาย ผีเมือง ผีฟ้า และผีแถน เป็นต้น และปรัชญาพหุนิยม เป็นการผสมผสานปรัชญาแนวคิด และความเชื่อระหว่างผี พราหมณ์และพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน
2. อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างที่มีต่อปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีของคนลุ่มน้ำโขงคือ การนำแนวคิดศิลปะในสมัยล้านช้างมาใช้ในการสร้างพุทธศิลป์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สำหรับวัฒนธรรมล้านช้างที่มีอิทธิพลต่อคนลุ่มน้ำโขง ได้แก่ วัฒนธรรมด้านวัตถุธรรม ด้านคติธรรม ด้านเนติธรรม และด้านสหธรรม ส่วนประเพณีล้านช้างที่มีอิทธิพลต่อคนลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีสู่ขวัญ เป็นต้น
3. อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในการสร้างความสามัคคีของคนลุ่มน้ำโขงระหว่างชาวไทยด้วยกัน ระหว่างชาวลาวด้วยกันและระหว่างชาวไทยและชาวลาวศิลปะล้านช้างที่สร้างความสามัคคี เช่น การสร้างพุทธศิลป์มีการบูรณพระธาตุพนม ประเพณีสร้างความสามัคคี เช่น ประเพณีบูชาพระธาตุพนม บูชาหลวงพ่อพระใส ประเพณีสร้างความสามัคคี เช่น การปลูกเสี่ยว การขึ้นบ้านใหม่ ฮีตสิบสอง เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Kanjanaphan, S. (2004). Concepts of Human and Environment, Department of Geography Faculty of Social Sciences Chiang Mai University. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Meethaisong, T. (2017). Ghost and Buddhism Method of Beliefs. Mahasarakham: Inthanin Publishing.

Phra Somsak Piyathammo (Inthasen). (2000). The influence of Buddhism on Lao society in Champasak province. Lao People's Democratic Republic. Research Report. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrakru Phatrasiriwut (Witthaya Siraphatthong). (2013). Study on Development and Influence of Buddhism in LanXang Society. Dissertation. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Thanurit Duangdee. (2000). Relationships of two sides of the Mekong community in Heat Sipsong: the case of Wat Meechai community, Muang district, NongKhai province, with villagers in the mining town of Hat SaiPhong, Kamphaeng Nakhon, Vientiane. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Thongpan, S. (2019). The Buddhist Arts in Lanchang: Concept, Development and Art Cultural Values. Dhammathas Academic Journal, 19(1), 203-214.

Wintachai, C. (2017). Art Styles of Buddhism, Bronze Sculpture in LanXang Art in Isan. Journal of Fine and Applied Arts Khon Kaen University, 9(1).