การสร้างเครือข่ายการพึ่งตนเองของเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ประกอบ มีโคตรกอง
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
พรนิพา รัตณคณาทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและขบวนการสร้างเครือข่ายการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการพึ่งตนเองของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการสร้างเครือข่ายการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง โดยทำการสัมภาษณ์จากเกษตรกรที่ทำการปลูกข้าวและทำการเกษตรเชิงอินทรีย์ใน 3 จังหวัด จำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่าง ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเฉพาะหน้า จากเกษตรกรที่ทำการปลูกข้าวและเกษตรกรรมเชิงอินทรีย์ใน 3 จังหวัด จำนวน 600 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการพึ่งตนเองด้านจิตใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .94 ด้านสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .95 ด้านเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .94 ด้านเทคโนโลยีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .93 และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .93
2. การสร้างเครือข่ายการพึ่งตนเองของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการเชื่อมโยงในลักษณะของเครือข่ายเกษตรกรที่ประกอบด้วยรูปแบบและขบวนการ ดังนี้ 1) มีการรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) มีความสนใจหรือผลประโยชน์ 4) การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย 5) มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน 6) การเกื้อหนุนพึ่งพากัน 7) การมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน
3. ปัญหาและอุปสรรค พบว่า 1) การกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ไม่ชัดเจน 2) สมาชิกภายในเครือข่าย 3) การถูกครอบงำ 4) การมีสถานภาพถูกต้องตามกฎหมาย 5) การติดตามและประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2561). แนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเองของเกษตรกรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (SelfReliance). เข้าถึงได้จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/283-self-reliance.html

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และคณะ. (2551). โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารองค์กรชาวบ้านและเครือข่ายแบบบูรณาการ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

วสันต์ กู้เกียรติกุล. (2544). องค์กรเครือข่ายชุมชนตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

สนิท สัตโยภาส. (2551). การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาสังคมของจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.