อัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในหมู่บ้านไม้สน อําเภอเมืองเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย

Main Article Content

พระครูปัญญาธีราภรณ์
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์พุทธศาสนาของชุมชนบ้านไม้สนที่สัมพันธ์กับความเป็นไทยในบริบทรัฐชาติ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม สังเกตและสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมาพรรณนาวิเคราะห์ พบว่า ประเพณีทางพุทธศาสนาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะชุมชนในอดีตจนถึงปัจจุบัน คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีการบวช ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีลอยกระทง พิธีกรรมโนราโรงครู เป็นต้น ซึ่งประเพณีที่กล่าวมามีความสัมพันธ์กับไทยทุกประเพณี แม้ลักษณะเป็น
ชนกลุ่มน้อยที่ยังสามารถดำรงรักษาวัฒนธรรมศาสนา และภาษา ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้ ประเทศมาเลเซียให้ความสำคัญกับศาสนาอิสลามเป็นหลักแต่ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยบ้านไม้สนทางตอนเหนือของประเทศยังคงดำรงพุทธศาสนาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยใช้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้วัดมีบทบาทหน้าที่ต่างๆมากกว่าการเป็น ศาสนสถาน นอกจากนี้ ค่านิยมการบวชยังสะท้อนให้เห็นว่าพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในจิตวิญญาณ และสร้างคุณค่าทางจิตใจคงไว้ ซึ่งพิธีกรรมประเพณีอันดีงามเพื่อดำรงตนในฐานะศาสนทายาทที่ช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงสถาบันศาสนาไว้ได้อย่างมีศักดิ์ศรีท่ามกลางสังคมและวัฒนธรรมต่างชนชาติ การมีส่วนร่วมในประเพณีและพิธีกรรมถือได้ว่าเป็นการติดต่อสื่อสารของคนในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น และทำให้มีโอกาสเรียนรู้และเข้าใจในบริบทชุมชนของตนเองผ่านการสืบทอดขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมที่ยังคงความมีตัวตนผสมผสานกับความเป็นไทยอยู่ภายใต้เส้นพรมแดนที่แยกออกเป็นสองรัฐชาติ ไทย-มาเลย์ ชุมชนมาเลเซียเชื้อสายไทยในหมู่บ้านไม้สนจึงยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างมีนัยสำคัญเชื่อมโยงกับความเป็นไทยผ่านวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญคือพุทธศาสนา ถึงแม้จะอยู่ท่ามกลางการล้อมรอบด้วยชุมชนมุสลิมที่เป็นประชากรหลักของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

Busararat, P. and Damraung, A. (2014). Social processes for maintaining and Inherit the Thai identity of Thai people living in the northern state of the country Malaysia. Walailak Abode of Culture Journal. Volume 14, No. 1 (October 2013 - March 2014), 27-38.
Kaeosanit, T. (2016). Siamese diaspora in Malaysia and communicating identity : Literature review. Journal of Communication and Innovation NIDA. Volume 3, No. 1 (January-June 2016), 127-162.
Soonthornpasuch, S. (2005). Anthropology and history : Including the essay on the application of concepts And anthropological theories in the study of historical data. Bangkok : Muang Boran, 443.
Thandee, D. (2004). Korean society and culture : Korean politics. Bangkok : Ramkhamhaeng University Press.
Tipsrinimit, N. (2007). Cultural identity of Thai people in the northern state of the country Malaysia. Doctor of Philosophy Program in Thai Studies Mahasarakham University.
Thep Bundit Temple. (2006). Information and collection of temples in Malaysia. Samutprakan : Publishing of Suetawan Co., Ltd.
Winichakul, T. (1994). Siam Mapped: a history of geo-body of a nation. Chiang Mai : Silkworm Books.