การมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ประเพณีแห่เทียนพรรษา, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนจำแนกตามเพศ อาชีพ และระดับการศึกษา 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 398 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงชุมชน แล้วคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาแน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าที (Independent Sample t-test) และการทดสอบค่าเอฟหรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test/One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์
2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่า ประชาชนที่มีเพศที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะในด้านการส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนประชาชนที่มีอาชีพและระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี เรียงตามลำดับความถี่สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมติดสินผลการประกวดต้นเทียนพรรษา กิจกรรมต่างๆ เทศบาลนครอุบลราชธานีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดสรรงบประมาณที่เพียงต่อการทำต้นเทียนพรรษา และควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกันทำเทียนพรรษา เช่นการหล่อ การแกะ พิมพ์เทียนของวัดหรือชุมชนทั่วไป
References
Arnstein, S, R. (1969). A Ladder Of Citizen Participation, Journal of the American Planning Association.
Buriphakdi, C. and Others (2002). Self-Learning Package. Bangkok : Ministry of University.
Duangsin, T. (2005). Philosophical Concepts with Appears in the Candle Procession of the People of Ubon Ratchathani City. Chiang Mai : Chiang Mai University.
Kaewthep, K. (2011). Cultural and Religious Heritage: Creative Power in the Community.(2nd ed). Bangkok : Sue-aksorn.
Rattanacharuwat, S. (2015). Conservation of Local Traditions with Participation of Kasam Sub-district Administration Organization Trakan Phuet Phon District Ubon Ratchathani. (Master's thesis, Khonkaen University).
Tharakulthongcharoen, P. (2014). A Study of Awareness of Cultural Heritage Conservation through the Participatory Process, Case Study: Saladaeng Nuea Village, Chiang Rak Noi. (Master's thesis, Bangkok University).
Udomrat, N. (2015). Study of Public Participation in Conservation of Tradition for food offering to monks by boat A case study of the Clong Mon Community Thap Yao Subdistrict, Lat Krabang District, Bangkok. (Master's thesis, Chulalongkorn University).
Wisdom Foundation. (2004). Folk wisdom with rural development. Bangkok : Amarin Printing.
Wisuthichanon, C. (2015). Participation in the Conservation of Folk Wisdom in Khlong Dan, Ranot, Songkhla. (Master's thesis, Hatyai University).
Worakham, P. (2016). Educational research. Maha Sarakham : Takkasilarkarnphim.