แนวทางการทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญาของชาวตำบลขวัญเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ วงศรีเทพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุวิน ทองปั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ขนิษฐา ทองเชื้อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

เกษตรกรรม, พุทธปรัชญา, แนวทางการทำเกษตรกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญา 2) ศึกษาการทำเกษตรกรรมของชาวตำบลขวัญเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 3) วิเคราะห์แนวทางการทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญาของชาวตำบลขวัญเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร จำนวน 10 คน ผู้บริโภคสิ้นค้าเกษตร จำนวน 10 คน และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. การทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญา พบว่า เป็นการนำแนวคิด ทฤษฎีพุทธปรัชญา ซึ่งประกอบด้วย ศีล 5 สันโดษ สังคหวัตถุ 4 อิทธิบาท 4 ไปใช้ในการทำเกษตร 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) การเลือกพื้นที่ดิน 2) การเตรียมดิน 3) การเพาะปลูก 4) การบำรุงรักษาพืชเกษตร 5) การบริโภคสินค้าเกษตร และ 6) การจำหน่ายสินค้าเกษตร
2. การทำเกษตรกรรมของชาวตำบลขวัญเมือง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มีการปลูกข้าว ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนในการทำเกษตร ดังนี้ 1) การเลือกที่ดิน 2) การเตรียมดิน 3) การเพาะปลูก 4) การบำรุงรักษา 5) การบริโภคสินค้าเกษตร และ 6) การจำหน่ายสินค้าเกษตร สำหรับการทำเกษตรกรของชาวขวัญเมืองนั้นมีทั้งการทำเกษตรแบบใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี
3. แนวทางการทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญา ชาวตำบลขวัญเมืองอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์แนวทางการทำเกษตรกรรมตามหลักพุทธปรัชญาไว้ 5 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางการเลือกพื้นที่ในการทำเกษตร 2) แนวทางการเตรียมดิน 3) แนวทางการเพาะปลูก 4) แนวทางการบำรุงรักษาพืชเกษตร 5) แนวทางการบริโภคสินค้าเกษตร และ 6) แนวทางการจำหน่ายสินค้าเกษตร

References

กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2536). เกษตรยั่งยืน อนาคตการเกษตรไทย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

พระเทพรัตนมุนี (สายพงศ์ อโนมปญฺโญ) และคณะ. (2557). การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารช่อพะยอ, 25(1), 53-64.

พระมหาวีระศักดิ์ อภินันทเวที (แสงพงษ์). (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับเกษตรทฤษฎีใหม่ของศาสตร์พระราชา. (วิทยานิพนธ์พุทศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Agriculture and Technology. (2564). ประวัติของการเกษตรไทย. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/agricultureandtechnology3278/home/prawati-khxng-karkestr-thiy,2558

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)