ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับพระสงฆ์ในการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, ผู้นำท้องถิ่นกับพระสงฆ์, การปกครองท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับพระสงฆ์ในการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 2) ศึกษาข้อดีและข้อเสียของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับพระสงฆ์ในการปกครองท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยการนำเอากรอบแนวคิดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสร้างเป็นกรอบในการใช้ศึกษาวิจัย ด้วยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 19 รูป/คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
1. มีลักษณะ คือ ลักษณะการร่วมมือ ได้แก่ การร่วมมือกันตามธรรมชาติหรือตามจารีตประเพณี การร่วมมือกันเป็นทางการหรือพันธะสัญญา การร่วมมือกันทางตรงหรือตามคำสั่ง
2. ข้อดีและข้อเสียของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับพระสงฆ์ ในการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ผลการวิจัยพบว่า มีผล 3 ด้าน คือ 1) ข้อดีต่อสังคม การพัฒนาสังคมจะมีประสิทธิภาพรวดเร็วแก้ไขปัญหาตรงจุดประสงค์ คนในสังคมจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีความเหนียวแน่นเป็นปึกแผ่น มีความสามัคคีพร้อมเพียงเกิดความเข้มแข็ง 2) ข้อดีต่อพระสงฆ์และวัด วัดจะมีการพัฒนา พระสงฆ์จะได้รับการอุปถัมภ์ช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ 3) ข้อดีต่อผู้นำ ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนที่มีความเคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ 1) ข้อเสียต่อสังคม ทำให้อำนาจในการลงเล่นการเมืองถูกรวบไปอยู่กับผู้นำท้องถิ่นที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับพระสงฆ์ได้เพียงกลุ่มเดียว และทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งพรรคแบ่งพวก 2) ข้อเสียต่อพระสงฆ์และวัด ถูกบดบังศักยภาพในการแสดงออก
3. ข้อเสียต่อผู้นำท้องถิ่น พระสงฆ์จะอาศัยความสัมพันธ์ความเป็นที่เคารพศรัทธาความเกรงใจจากผู้นำท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการชักจูงผู้นำท้องถิ่นให้ทำตามอำนาจของตน
References
ก่องแก้ว เจริญอักษร. (2551). ความรู้เรื่องธรรมวิทยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยาการเมือง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พระเทพศาสนภิบาล. (2560). คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ระยะที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์.
พรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). สถาบันสงฆ์กับสัยงคมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระมหาสถาพร วันนุกูล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับพระสงฆ์ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัทยา สายหู. (2551). บทบาทของพัฒนากรในหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสังคมวิทยาของหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์.
โรงเรียนชุมชนภูเรือ. (2553). ประวัติศาสตร์อำเภอภูเรือ. เลย: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนชุมชนภูเรือ.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ. (2553). ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. เลย: เมืองเลยการพิมพ์.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.