กระบวนการคิดเชิงออกแบบวิถีพุทธ: เครื่องมือในการออกจากความเครียดในยุค New Normal ของกลุ่มคนวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • พระมหาญาณภัทร อติพโล วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์
  • กัญญาพร สุทธิพันธ์ วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์
  • พระดำรงพล ถิรสทฺโธ วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรีศรีไพบูลย์
  • วิชชานันท์ ทองศรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

พุทธวิธี, กระบวนการคิด, ความเครียด, พุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งเสนอความทุกข์ ความเครียดของมนุษย์ส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากความคิดเพราะหลังจากที่ประสบปัญหาหรือเรื่องราวไม่ดีก็จะนำไปคิด และถ้าหากจัดการความคิดไม่ดีก็จะนำไปสู่ความทุกข์ได้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้ทุกคนเกิดความเครียด รวมทั้งคนที่อยู่ในวัยทำงานก็เกิดความเคลียดหลายประการ ในปัจจุบันมีกระบวนการคิดแบบหนึ่งที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาถูกจุด ตลอดจนพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะหาวิถีทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ตลอดจนแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย เพราะในยุคนี้เป็นยุคแห่งการออกแบบหรือ Design แม้แต่ความคิดไม่ได้เป็นแค่การคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้ออกมาเป็นวัตถุจับต้องได้ แต่สามารถออกแบบแล้วสามารถนำไปบูรณาการกับกระบวนการคิดแบบพุทธวิธีก็เพิ่มทางเลือกในแก้ความเครียดแก่คนในวัยทำงานในยุค New Normal นี้ กระบวนการคิดเชิงออกแบบวิถีพุทธ ประกอบด้วย 1) คิดสืบสาวหาเหตุผล (การณมนสิการ) เพื่อเข้าใจปัญหา (Empathize) 2) วิธีคิดแบบอริยสัจ เพื่อกำหนดปัญหาให้ชัดเจน (Define) ระบุปัญหาและกรอบของปัญหา 3) การคิดหลายทาง หรือหลายแง่หลายมุม (ปถมนสิการ) เพื่อระดมความคิด (Ideate) 4) สร้างต้นแบบที่เลือก (Prototype) 5) ทดสอบ (Test)

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย (รายต่อแสนประชากร) ปี พ.ศ. 2540-2563. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Merholz, P. (1960). Why Design Thinking Won’t Save You. Harvard Business Review Blog Network.

Pressman, A. (1960). Design Thinking A Guide to Creative Problem Solving for Everyone. London: Routledge.

Ulla Johansson-Sköldberg, Jill Woodilla, and Mehaves Çetinkaya, (2013). Design Thinking: Past. Present and Possible Futures, 22(2), 121-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)