กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การสื่อสารพุทธธรรม, สื่อสังคมออนไลน์, สังคมไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการสื่อสารพุทธธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา 2) ศึกษารูปแบบการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย และ 3) ศึกษาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของกระบวนการสื่อสารพุทธธรรม ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักการสื่อสารพุทธธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่าหลักการสื่อสารพุทธธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) การบอกกล่าวหรือชี้แจงสัจจธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐ ประการที่ 2 การป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด ประการที่ 3 การสำรวจประชามติ
2. รูปแบบการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย พบว่า รูปแบบการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย ประกอบด้วยรูปแบบสื่อทัศน์ รูปแบบโสต รูปแบบโสตทัศน์
3. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย พบว่า จุดแข็งคือ ทำให้เนื้อหาสารเผยแพร่ไปทั่วโลก ดีกว่ามาจัดสัมมนาในห้องใดห้องหนึ่งในวงแคบแต่ถ้ากระจายไปในสื่อจะแพร่กระจาย และจุดอ่อน คือ การสื่อสารพุทธธรรมแบบออนไลน์ไม่เหมือนอยู่กับบรรยายที่มีผู้คนใกล้ชิด จะได้เฉพาะคนที่สนใจจริงๆ คนที่ไม่สนใจก็จะไม่เกิดประโยชน์
References
เกษม อุทยานิน. (2559). สื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงชียง.
เจษณี สุขจิรัตติกาล. (2560). มารยาทและจริยธรรมในเครือข่ายสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว.
พระมหาธนิต สิริวฑฺฒโน. (2557). จารึกอโศก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนครศรีอยุธยา: ธรรมสภา.
พระครูสุนทรธรรมโสภณ. (2561). ยุทธศาสตร์การทางานเผยแผ่ของคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: ทวีพิมพ์ดี.
พระจักรพงศ์ วิสุทฺธสีโล. (2558). การใช้เทคโนโลยีกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์ จำกัด.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2558). คำวัด 2. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.