การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา
คำสำคัญ:
การวางแผนการเงิน, ภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) เพื่อหารูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการวิจัยเป็นแบบ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดอุดรธานี สังกัด สพป.อุดรธานี 1-4 และ สพม.เขต 20 จำนวน 388 คน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับ มาก ( = 3.60) รองลงมาคือ มีทัศนคติด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับ มาก ( = 3.51) และมีพฤติกรรมด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.35)
2. รูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้ 1) การให้ความรู้เรื่องการวางแผนการเงิน 2) การสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงิน 3) การจัดสวัสดิการให้เพียงพอสำหรับข้าราชการบรรจุใหม่ 4) การติดตามการวางแผนการเงิน 5) รูปแบบการลงทุน
3. การวิพากษ์และยืนยันรูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ทางเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน พบว่า รูปแบบการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกด้าน ทุกประเด็น และทุกแนวทางสอดคล้องกัน
References
กฤษฎา เสกตระกูล. (2553). การวางแผนการเงินส่วนบุคคล: เมื่อประชาชนมั่งคั่ง ประเทศชาติก็มั่นคง. เข้าถึงได้จาก https://www.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do?contentId=535
จันทร์เพ็ญ บุญฉาย. (2552). การจัดการการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
จารุณี จอมโคกสูง. (2555). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากรอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัทราภรณ์ แดงแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.