การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์โดยใช้บทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นิรันดร์ ชัยวิเศษ
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ ระดับชั้นประศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ 3) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของทั้งหมด 4) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของทั้งหมด ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลหลังทดลอง (The One-Shot Case Study Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกัลยาณีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ (1) บทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ (2) แผนการจัดการเรียนการสอน จำนวน 12 แผน (3) แบบทดสอบวัดสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.16/83.47
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน CAI ด้วยโปรแกรม Coding ตามแนวคิดกาเย่ มีค่าเท่ากับ 0.5020 แสดงว่า นักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.20
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีค่าร้อยละ 80.73 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88.00
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.47 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เกณฑ์ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 96.00

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรกนก สำกำปัง. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง สมบัติของวัสดุ และการทดสอบวัสดุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชาญชัย แฮวอู. (2550). คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาตรวจสอบงานเชื่อมเรื่องการตรวจสอบแบบไม่ทำลายสภาพ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). นิยามเลิร์นนิงออปเจ็กต์ (Learning Object) เพื่อการออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 4(4), 50-59.

ทิศนา แขมมณี. (2555). บัณฑิตศึกษาในศตวรรษที่ 21: การปรับหลักสูตรการสอน. (เอกสารอัดสำเนา).

ธนาวุฒิ ขุมทอง, มนัส วัฒนไชยยศ และบรรจง ชลวิโรจน์. (2558). การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ในรายวิชาเมโลเดียนเบื้องต้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษย์สังคมสาร (มสส.), 15(2), 197-205.

มานะ โสภา และคณะ. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดของกาเย่ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 9(1), 24-34.

วิลาวัลย์ ศรีซุย. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องพืชรอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชระ เยียระยงค์. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมบัติ การจนารักพงค์. (2545). เทคนิคการสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

อชิรกาญณ์ ดอกไม้. (2558). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับผังความคิด วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายของเราที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสมเด็จพระวันรัต. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 2306-2320.

เอกภูมิ ชูนิตย์. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ทวีปเอเชีย ที่สรุปบทเรียนด้วยแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objectives. Thousand Oaks, California: Corwin Press.