การมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐในการพัฒนาพุทธอุทยาน อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระวุฒิไกร อภิรกฺโข (มาลัยขวัญ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระมหาวิรุธ วิโรจโน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ชนาธิป ศรีโท มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, องค์กรภาครัฐ, การพัฒนาพุทธอุทยาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐในการพัฒนา 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วม 3) ศึกษาข้อเสนอแนะ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ จำนวน 101 คน เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และ ค่า F-test โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. มีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการร่วมปฏิบัติ รองลงมาคือ ด้านการจัดทำแนวกันไฟ รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล ด้านส่งเสริมให้พระสงฆ์และชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ป่าไม้ สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านกิจกรรมพัฒนาป่าไม้โดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และชุมชน ด้านติดตามผล ด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านจัดทำขอบเขตที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ภายในองค์กร โดยภาพรวมไม่ความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐ ได้แก่ ควรมีส่วนร่วมในการวางแผน ควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ควรมีส่วนร่วมปรับปรุงพุทธอุทยาน ควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ควรมีส่วนในการป้องกันไฟป่า ควรมีส่วนร่วมในการจัดทำป้าย ควรมีส่วนร่วมในการเพาะชำกล้าไม้ ควรมีส่วนร่วมในการติดตามผลการปฏิบัติงาน และควรมีส่วนในการรณรงค์การป้องกันไฟป่า

References

กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.moi.go.th/

ณรงค์ ขูรูรักษ์. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานไดโนเสาร์ของประชาชนในตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม., 4(2), 75-89.

ดำรงศักดิ์ มีสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน กรณีศึกษาวัดนามสมมุติกับชุมชนนามสมมุตติ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทนงศักดิ์ จันทร์ทอง. (2560). การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ชินวัฒน์.

นันทชัย ไตรรัตน์วงศ์. (2559) พระสงฆ์กับกิจกรรมการอนุรักษ์ภูมิทัศน์ป่าไม้: กรณีศึกษา พระราชวิสุทธิมุนี (หลวงพ่อเยื้อน ขนฺติพโล) พุทธอุทยานวัดเขาศาลา อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 26(1), 149-159.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). ICT (ไอซีที). เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/main2/t-ips.htm

รัฐ กันภัย. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในแผนพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 465-482.

วิภาวรรณ มะลิวรรณ์. (2560). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนเขาขลุง ตําบลเขาขลุง อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 694-708.

อัมพร อมฺพโร. (2560). การพัฒนาวัดตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: ไทยรัฐ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)