การพัฒนามนุษย์ในทัศนะของนิตเช่

Main Article Content

พระอธิวัฒน์ อชิโต
อนุสิทธิ์ ต้นโพธิ์
Soeurng Seam
สุวิน ทองปั้น
จรัส ลีกา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์นำเสนอถึงการพัฒนามนุษย์ตามทัศนะของนิตเช่ พบว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับการมีเจตจำนงเสรี จึงจำเป็นจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง มนุษย์มี 3 ระดับ คือ 1) ระดับทาส เป็นมนุษย์ที่ยังมีความกลัวต่อเจ้านายเหมือนกับทาส 2) ระดับนาย เป็นมนุษย์ผู้ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองและสามารถสั่งการได้เหมือนกับเจ้านาย 3) ระดับอภิมนุษย์ เป็นมนุษย์ผู้ที่สามารถควบคุมตนเองได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจใดๆ ดังนั้นการพัฒนามนุษย์จึงเริ่มต้นจากระดับทาสไปสู่ระดับนาย และจากระดับนายไปสู่ระดับอภิมนุษย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในทัศนะของนิตเช่

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กฤช มายา และวิโรจน์ อินทนนท์. (2561). แนวคิดเรื่องอำนาจของเฟรดริช วิลเฮลม นิตเช่. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(2), 236-259.

กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนาพานิช.

_______. (2555). นิทเช่: ผู้บุกเบิกแนวคิดหลังนวยุค ด้วยวิถีสู่อภิมนุษย์และซึ้งสุนทรีย์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และนกนาท อนุพงศ์พัฒน์. (2560). สุขภาพทางปัญญา: จิตวิญญาณ ศาสนาและความเป็นมนุษย์. นนทบุรี: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ธนุตม์ นันเพ็ญ. (2561). แนวคิดเรื่องมนุษย์ในนวนิยายชุดมาเฟียเลือดมังกร จากมุมมองของฟริดริค นิทเช่. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(2), 210-235.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมุมจิตโต). (2533). พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฟรีดิช วิลเฮล์ม นิทเช่. (2550). ซาราสตรา (Thus spoke Zarathustra). แปลโดย ศัลย์ ศาลยาชีวิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โฆษิต.

วนิดา คุตตวัส. (2523). ความสัมพันธ์ระหว่างทรรศนะเรื่องนิจวัฏกับการวิจารณ์จริยศาสตร์ของนิทซ์เช่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรี ทรงประชุม. (2549). มิติใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อริย์ธัช เลิศอมรไชยกิจ. (2561). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดอภิมนุษย์ของฟรีดริช นิทเช่. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรม สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 3(2), 11-17.