การพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ โดยใช้เกมคำศัพท์ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณัฐพร มุลตรีบุตร
ไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมคำศัพท์ตามทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีพหุปัญญารูปแบบการวิจัยเป็นการทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Design) โดยเป็นการทดลองแบบ One-Short Case Study กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโดยใช้เกมคำศัพท์ทางทฤษฎีพหุปัญญา จำนวน 12 แผน เวลา 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ จำนวน 10 ข้อ กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็นแบบ (Scoring Rubric) 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีพหุปัญญาเป็นแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมคำศัพท์ตามทฤษฎีพหุปัญญา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีคะแนนทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 90.77 คิดเป็นร้อยละ 90.77 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 86.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีพหุปัญญา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

______. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชูศรี การเกษ. (2546). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวกลบระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โชคชัย บุญพา. (2548). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร เศษส่วน โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมลักษณ์ วิจบ. (2548). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเรื่อง รูปแบบวงกลมและรูปทรงเรขาคณิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมิตร คุณากร. (2541). หลักสูตรประถมศึกษา 2521 ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Gardner, H. (1993). Multiple Intelligence: The Theory in Practice. New York: Basic Books.

Shore, J. & Robin, J. (2002). An Investigation of Multiple Intelligences and Self- efficacy in the University. ESL Classrooms, 69(9), 36-80.

Snider, D. P. (2001). Multiple Intelligences Theory and Foreign Language Teaching. Unpublished doctoral dissertation, University of Utah.

Vroom, V. H. (1980). Work and motivation. New York: john sons.