ธรรมของสมณศักดิ์

ผู้แต่ง

  • พระวีระพงษ์ วิสุทฺโธ (โคษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ธรรม, สมณศักดิ์

บทคัดย่อ

หนังสือเล่มนี้ เป็นการนำเสนอความหมาย และเป้าหมายของสมณศักดิ์หรือเกียรติยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์เพื่อประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในแต่ละด้าน คือเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติและพระพุทธศาสนาช่วยปลูกฝังศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน มีคุณค่าด้านจิตใจ ได้แก่ เป็นที่เคารพยำเกรงและพึ่งพิงของขาวบ้าน คุณค่าวัฒนธรรมด้านภาษา คุณค่าด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี เช่น เป็นการได้ทรงบำเพ็ญทานของพระมหากษัตริย์ และเป็นการส่งเสริมพระสงฆ์ที่มีความรู้และผลงานแก่สังคมให้ทรงสมณศักดิ์ เป็นต้น

References

กรมศิลปากร. (2505). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์พระอธิบายประกอบ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.

ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา. (2546). ยศช้างขุนนางพระ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พระมหาอุทิศ ศิริวรรณ. (2535). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมณศักดิ์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเซียง.

พระมหาสุภา อุทฺโท. (2542). พระสงฆ์ไทยใน 2 ทศวรรษ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

วิเชียร อากาศฤกษ์ และสุนทร สุภูตะโยธิน. (2528). ประวัติสมณศักดิ์และพัดยศ. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). ธรรมของสมณศักดิ์. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2543). ชีวิตตัวอย่าง: หมอชีวกโกมารภัจ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30