กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ, พุทธบูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมในจังหวัดนครพนม 2) ศึกษาวิธีบูรณาการพุทธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง 105 รูป/คน ประกอบด้วยพระภิกษุ 21 รูป เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล 12 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 12 คน ผู้บริหารในชุมชน 15 คน และผู้สูงอายุในพื้นที่ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิด โดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้อง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการพรรณา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมมี 4 กระบวนการ 1) การให้ความรู้ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของร่างกายและจิตใจตนเองในรูปแบบการพึ่งพาตนเอง 2) การดูแลตนเองเช่น อาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการแต่งกายตามกาลเทศะ 3) การเยี่ยมเยือน
ผู้สูงอายุ การเอาใจใส่ของลูกหลานคือ พลังสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ 4) การสร้างพลังมวลชน ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจผู้สูงอายุ เช่น การสวดมนต์ข้ามปี การทำบุญประเพณี งานมนัสการพระธาตุพนม
2. วิธีบูรณาการพุทธธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ ตามหลักภาวนา 4 คือ กายภาวนา กำหนดจิตไว้ที่ร่างกายตนเองเป็นสำคัญ แม้ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายเจ็บปวด อยู่กับความรู้สึกที่ร่างกายอย่างมีสติ คือ ศีลภาวนา การมุ่งมั่นรักษา กาย วาจา ใจให้อยู่ในกรอบศีลห้าให้ได้ทุกวัน จิตภาวนา การมุ่งสร้างจิตใจตนเองให้สงบคือการสร้างกุศลย่อมส่งผลให้ร่างกายและจิตใจเป็นสุข ปัญญาภาวนา การรักษาอารมณ์ตนเอง โดยการวางใจให้เห็นกฏ สัจธรรม เป็นเรื่องธรรมดา คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และการผลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การสร้างกรรมดี คำนึงถึงจิตใจตนเองเป็นสำคัญ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ โดยมีเครื่องที่ใช้คือ ความอดทน ความเพียรพยายามของผู้มีภาวนา 4
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). แนวโน้มโลก 2050 ตอนที่ 3: สังคมโลก...สังคมผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/107437
เกียรติคุณ พวงทองไกลพิบูรณ์. (2559). ผู้สูงอายุ (older person). เข้าถึงได้จาก https://haamor.com/ผู้สูงอายุ
จีรนุช สมโชค. (2540). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บัณฑิต เคียงธนสมบัติ. (2547). การสนับสนุนทางสังคม การมีกิจกรรมกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเวศ วะสี และคณะ. (2539). พระพุทธศาสนากับจิตวิญญาณสังคมไทยประเด็นวิจัยศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2551). สุขภาวะที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
พนิดา โยวะผุย, อักษราณัฐ ภักดีสมัย และประภัสสร วงษ์ศรี. (2560). การส่งเสริมผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก http://www.smnc.c.ac.th/group/research/imges/storsies/nure/promotion.pdf
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
พระสุนทรกิตติคุณ. (2559). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอาย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3(1), 12-25.
ภัทรธิรา ผลงาม. (2557). การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน: กรณีในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สมบูรณ์ วัฒนะ. (2559). การดูแลบิดามารดาสูงอายุตามหลักคำสอนในพุทธศาสนาของครอบครัวไทยพุทธ. นครปฐม: วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์. (2552). พลังจิตทำชีวิตให้เต็มให้จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว. เข้าถึงได้จาก www.Kroobannok.com
สภางค์ จันทรานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมานพ ศิวารัตน์. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
สิริรัตน์ จันทรมะโน และเจนระวี สว่างอารีรักษ์. (2554). แบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(2), 57-68.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.