การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลองเพื่อส่งเสริมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สิริรัตนา มุงคุณโคตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ทัศนีย์ นาคุณทรง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณธรรม, นิทาน, สถานการณ์จำลอง, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเมทนีดล ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี 3 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที Paired t-test และวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2541). การเล่านิทาน. การศึกษาปฐมวัย, 2(2), 10-19.

บุญชม ศรีสะอาด. (2555). วินัยในตนเองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 3-15.

_______. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิมปภา ร่วมสุข. (2557). การสร้างสื่อนิทานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมด้านความมีน้ำใจในเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรีชา ธรรมา. (2546). วินัยแห่งตน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 26. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป. (2548). กระบวนการสร้างนิทานเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2550). เอกสารประกอบการเรียนวิชา ECED 201 การศึกษาปฐมวัย Eary Childhood Education. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุดา เจ๊ะอุมา. (2556). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการคิดย้อนกลับตามทฤษฎีของเพียเจท์ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(3), 263-275.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อริสา โสคำภา. (2551). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่า นิทานอีสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)