การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในอักโกสวัตถุสูตร

Main Article Content

พระมหาวีรพล กตปุญฺโญ
สุวิน ทองปั้น
จรัส ลีกา
ประสิทธิ์ วงศ์ศรีเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดพุทธจริยศาสตร์ 2) ศึกษาพุทธจริยศาสตร์ในอักโกสวัตถุสูตร 3) วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในอักโกสวัตถุสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์มูลด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. แนวคิดพุทธจริยศาสตร์ เป็นหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของพุทธปรัชญา สำหรับเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความดีของมนุษย์ เป็นการกระที่ประกอบไปด้วยความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง ส่วนเกณฑ์การวัดความชั่ว เป็นการกระที่ประกอบไปด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลง   
2. พุทธจริยศาสตร์ในอักโกสวัตถุสูตร เป็นหลักธรรมหรือหลักปฏิบัติที่ปรากฏในอักโกสวัตถุสูตร เกี่ยวกับเกณฑ์การกระทำความดีเป็นไปเพื่อความเจริญ เกณฑ์การกระทำชั่วเป็นไปเพื่อความเสื่อม เกณฑ์การกระทำในระดับโลกิยะเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าสันติสุข และ เกณฑ์การกระทำในระดับโลกุตระเป็นไปเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส
3. การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในอักโกสวัตถุสูตร เป็นการพิจารณา ไตรตรอง สังเคราะห์หลักธรรมที่ใช้ประพฤติปฏิบัติที่ปรากฏในอักโกสวัตถุสูตร โดยการจัดลงในพุทธจริยศาสตร์ 3 ระดับ คือ 1) พุทธจิยศาสตร์ระดับต้น เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) พุทธจริยศาสตร์ระดับกลาง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณธรรมในจิตใจ 3) พุทธจริยศาสตร์ระดับสูง เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

เกษม กสิโอฬาร และคณะ. (2560). พุทธธรรมพัฒนาจิตเพื่อระงับความโกรธผลการศึกษา. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมสาสตร์, 3(1-2), 24-34.

ธรสรวง ทวนทอง. (2551). เบญจศีลเบญจธรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: คณะโบราณคดีและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิกิพีเดีย. (2565). กศุลและอกุศ. วันที่สืบค้น 28 ตุลาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki

สุภา ศรีสวัสดิ์ และคณะ. (2560). การบริหารจัดการความโกรธตามแนวพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(1), 110-125.

เสาวนุช ศิริมาลัยรักษ์. (2560). ศึกษาความสำคัญของสุจริต 3 ต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรรถพล เปี่ยมปฐม. (2560). การศึกษาวิเคราะห์กุศลกรรมบถเพื่อพัฒนาชีวิต. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

kroobannok. (2564). สังคมกับมนุษย์. เข้าถึงได้จาก http://www.kroobannok.com/blog/12093