การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธของชุมชนนาควิชัย ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระณัฏฐพัชร ภทฺทจาโร
พระโสภณพัฒนบัณฑิต
อดุลย์ หลานวงศ์
ทักษิณาร์ ศรุติสุต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธของชุมชนนาควิชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 3) ศึกษาวิเคราะห์การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธของชุมชนนาควิชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรของชุมชนนาควิชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา พบว่า การสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธนั้นเป็นยาพื้นบ้าน ที่คนในชุมชนหรือหมอยาพื้นบ้านในชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้รักษา บำบัด หรือป้องกันอาการป่วยมาหลายชั่วอายุคน ก่อนที่วิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่จะก้าวเข้ามาสู่ชุมชน การใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของคนอีสานถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบันและมีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะยาสมุนไพรเป็นยาที่ไม่มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ปลอดภัย สามารถใช้ได้ด้วยตนเองในการรักษาอาการป่วยเบื้องต้นได้
2. การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธของชุมชนนาควิชัย ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคคล และชุมชน ให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง จึงจำเป็นต้องสนับสนุนให้มีการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อปัญหาใหม่ๆ และต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ที่เหมาะสม
3. วิเคราะห์การเสริมสร้างสุขภาพด้วยสมุนไพรเชิงพุทธของชุมชนนาควิชัย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พบว่า การสร้างเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรนั้นต้องมีขั้นตอน วิธีการในการดำเนินการ มีการจัดกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน มีการประเมินภาวะสุขภาพของชุมชน และการจัดทำสรุปรายงานด้านสุขภาพด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษณา ไกรสินธุ์. (2550). เภสัชกรยิปซี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ลิปส์ พับลิชชิ่ง.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และคณะ. (2549). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนการวิจัย ชุดโครงการวิจัยด้านการศึกษากับชุมชน.

ยุคล ละม้ายจีน. (2550). ความหลากหลายของพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.