พุทธจริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน: กาพย์ปู่สอนหลาน

ผู้แต่ง

  • พรสวรรค์ สุวรรณธาดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาศรายุทธ สมนฺตปาสาทิโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, กาพย์ปู่สอนหลาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน 2) ศึกษาความเป็นมาและรูปแบบวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทคำสอน เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตรวจสอบวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน ศึกษาลักษณะคำประพันธ์วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. วิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน พบว่า วรรณกรรมกาพย์ปู่สอนหลาน มีลักษณะคำประพันธ์เป็นกาพย์อีสาน หลักพุทธจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้แก่ ธรรมะขั้นต้น คือ เบญจศีล เบญจธรรม ธรรมะขั้นกลาง คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบท ธรรมะขั้นสูง คือ มรรคมีองค์แปด
2. ความเป็นมาและรูปแบบวรรณกรรมท้องถิ่น ประเภทคำสอน พบว่า วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอนเหล่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมวิถีชีวิต ของคนอีสานในด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ สังคมอีสานมีหลักจริยธรรมที่ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตจริงที่ประพฤติสืบต่อมา และมีร่องรอยในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทต่างๆ เดิมนับถือผีสางแต่เมื่อชุมชนเหล่านี้กลับมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน พบว่าแนวคิดดั้งเดิม กับแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ยังคงมีปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทคำสอน โดยสอนสิ่งที่เป็นโทษ สอนสิ่งที่เป็นคุณธรรม จริยธรรม สอนเรื่องการปกครองและอื่นๆ เพื่อให้คนได้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2524). ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน. กรุงเทพฯ: อรุณ.

พระบุญยืน งามเปรี่ยม. (2553). การตีความพุทธจริยธรรมในวรรณกรรมเรื่อง ผาแดง-นางไอ่. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ. (2528). ผาแดงนางไอ่. ภาควิชาภาษาไทยและภาคตะวันออก คณะมนุษย์ศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาสิลา วีระวงส์. (2533). ชีวิตและผลงาน. เวียงจันทน์: รัฐ ส.ป.ป.ล.

โยธิน มาหา. (2547). การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ประเภทนวนิยายอิงหลักธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2525). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)