การวิเคราะห์ความงามในเรื่องพระนันทเถระ

ผู้แต่ง

  • พระสำราญ พันธ์ผาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุวิน ทองปั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ประสิทธิ์ วงศ์ศรีเทพ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ความงาม, ความงามในทัศนะพุทธปรัชญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความงามในทัศนะพุทธปรัชญา 2) ศึกษาความงามในเรื่องพระนันทเถระ 3) วิเคราะห์ความงามในเรื่องพระนันทเถระ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความงามในทัศนะพุทธปรัชญา ได้แก่ ความงามใน 2 มิติ คือ 1) ความงามในเชิงวัตถุวิสัย ซึ่งเป็นความงามที่ประกอบด้วยกามคุณห้า คือความงามในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นความงามในระดับโลกียะ 2) ความงามในเชิงจิตวิสัย คือความงามภายในซึ่งเป็นความงามของจิตใจ ได้แก่ ความงามที่เกิดจากการลด เลิก ละจากกิเลส ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าความงามในระดับโลกุตระ
2. ความงามในเรื่องพระนันทเถระ ได้แก่ ความงามที่ปรากฏในเรื่องพระนันทเถระ ซึ่งมีอยู่ 2 ระดับดังนี้ 1) ความงามในระดับโลกียะ คือความงามที่เกิดจากความพึงพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความงามที่เกิดจากการพิจารณากามคุณทั้ง 5 เป็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยงเป็นทุกข์และทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ 2) ความงามในระดับโลกุตระ คือความงามที่เกิดจากการเห็นสัจจธรรม มีจิตที่จิตปราศจากกิเลส จิตที่สะอาด สว่าง สงบ เป็นจิตที่เข้าถึงนิพพาน
3. การวิเคราะห์ความงามในเรื่องพระนันทเถระ เป็นการพิจารณาไตร่ตรองความงามใน 3 ระดับคือ 1 ความงามในระดับต้น ได้แก่ ความงามในรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัส ซึ่งเป็นความงามที่ประกอบไปด้วยกามคุณห้า 2) ความงามในระดับกลาง ได้แก่ ความงามในการสำรวมในกาม ซึ่งเป็นความงามของคนมีศีล 3) ความงามในระดับสูง ได้แก่ ความงามที่เกิดจากการลดเลิกละกิเลส มองเห็นสัจธรรมตามหลักไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นความงามที่บริสุทธิ์ (การบรรลุนิพพาน)

References

กัลยา คิดก่อนทำ. (2554). ศึกษาวิเคราะห์ศัลยกรรมความงามในมุมมองทางศาสนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จินตนา เฉลิมชัยกิจ. (2558). ศึกษาวิเคราะห์ศัลยกรรมความงามในมุมมองทางศาสนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมศาสตร์: ฉบับประมวลธรรม. (พิมครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนิเวทย์ ญาณวิโร. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นปฏิกูลของร่างกายในกายคตาสติสูตร. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พูลศีรี โคตรชมภู. (2558). วิเคราะห์การศัลยกรรมความงามตามหลักกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณีพรรณ เสกธีระ. (2551). การศึกษาหลักธรรมเรื่องความงามในคัมภีร์พระพุทศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)