การประยุกต์ธรรมโอสถบำบัดกายและจิตกับวิถีชีวิตประจำวัน

ผู้แต่ง

  • นลินรัตน์ อุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประยุกต์, ธรรมโอสถ, บำบัด

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาธรรมโอสถบำบัดกายและจิต 2)นำเสนอการประยุกต์ธรรมโอสถบำบัดกายและจิตกับวิถีชีวิตประจำวัน เพราะการรักษาสุขภาพกายและจิตให้แข็งแรงอยู่เสมอถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต เนื่องจากในแต่ละวันต้องเผชิญกับปัญหารอบด้าน ทั้งด้านหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ สภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนจากสถานะการวิกฤติโควิด-19 และวิถีชีวิตที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ล้วนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตทั้งสิ้น การประยุกต์ธรรมโอสถบำบัดกายและจิตกับวิถีชีวิตประจำวัน ด้วยกิจกรรมสร้าง 7 ส ได้แก่ สวดมนต์คล่อง สมองปัญญาไว สมาธิตั้งมั่นด้วยใจ สนทนาธรรมผ่อนคลาย  สะอาดทั้งกายและใจ สถานที่อยู่แล้วแจ่มใส และสมานฉันท์กัลยาณมิตร และส่งเสริม 7 ดี อยู่ดี (อาวาสสัปปายะ) กินดี (โภชนสัปปายะ) อยู่ในถิ่นที่เหมาะดี (โคจรสัปปายะ) ธรรมะสบายใจดี (ภัสสสัปปายะ) กัลยาณมิตรดี (ปุคคลสัปปายะ) อากาศเย็นสบายดี (อุตุสัปปายะ) อิริยาบถผ่อนคลายดี (อิริยาปถสัปปายะ) พัฒนากายและจิตควบคู่กันไป หมั่นเพียรปฏิบัติความดีทุกวันด้วยการเจริญทาน ศีล ภาวนา ฝึกฝนจิตให้เห็นความเป็นไปในโรคภัยด้วยความเข้าใจไม่เร่งผล สวดมนต์เป็นกิจวัตร ปฏิบัติดูแลทั้งกายและใจไปพร้อมกัน ให้แข็งแรงอย่างยั่งยืนและมีความสุขในทุกๆวัน นั่นคือสภาวะกายและจิตอันแข็งแรงที่แท้จริงเกิดองค์ความรู้ใหม่สร้างสุขภาวะองค์รวม 4 ด้าน คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม เกิดความสุขทุกมิติอย่างยั่งยืน

References

ทัศนีเวศ ยะโส. (2565). สวดมนต์และสมาธิบำบัดเพื่อการรักษาโรค. เข้าถึงจาก https://is.gd/sLhpxA

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันพลังจิตตานุภาพ. (2565). หลักสูตรครูสอนสมาธิ. เข้าถึงจาก http://fivedots.coe.psu.ac.th/~paijit/willpower5/index.html/

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ ปยุตฺโต). (2561). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุนันทา กระจ่างแดน. (2540). ผลของการทำสมาธิชนิดอานาปานสติแบบผ่อนคลายในการลดความเครียด และความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)