การศึกษาวิเคราะห์พระโพธิสัตว์ในปรัชญาเถรวาทและมหายาน

ผู้แต่ง

  • อนุสิทธิ์ ต้นโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระโสภณพัฒนบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อุทัย กมลศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พระโพธิสัตว์, เถรวาท, มหายาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพระโพธิสัตว์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) ศึกษาพระโพธิสัตว์ในปรัชญามหายาน และ 3) วิเคราะห์พระโพธิสัตว์ในปรัชญาเถรวาทและมหายาน เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลชั้นปฐมภูมิจากพระไตรปิฎก และข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากตำราวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระโพธิสัตว์ในพุทธปรัชญาเถรวาทคือผู้บำเพ็ญหลักธรรมสโมธาน 8 และบารมี 10 ให้บริบูรณ์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยให้ตนเองพ้นทุกข์และช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ภายหลังในฐานะเป็นอรหันตภูมิ มี 2 ประเภท คือ อนิยตโพธิสัตว์ ผู้ไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และนิยตโพธิสัตว์ ผู้ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าจะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
2. พระโพธิสัตว์ในปรัชญามหายาน คือ ผู้บำเพ็ญโพธิสัตวยาน ได้แก่ มหาปณิธาน 4 และบารมี 6 ไม่หวังเพื่อการเข้าถึงอรหันตภาวะเหมือนพระโพธิสัตว์ในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยพระมหากรุณาในสรรพสัตว์เพื่อให้พ้นทุกข์ทั้งปวง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุพุทธภูมิ
3. ผลการวิเคราะห์พบว่า พระโพธิสัตว์ในพุทธปรัชญาเถรวาทคือผู้บำเพ็ญหลักธรรมสโมธาน 8 และบารมี 10 ให้บริบูรณ์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการทำให้ตนเองพ้นทุกข์และยังช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ได้ด้วย มี 2 ประเภท คือ อนิยตโพธิสัตว์ ผู้ไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และนิยตโพธิสัตว์ ผู้ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าจะต้องตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระโพธิสัตว์ในปรัชญามหายาน คือ ผู้บำเพ็ญโพธิสัตวยาน ได้แก่ มหาปณิธาน 4 และบารมี 6 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุพุทธภูมิ เป็นผู้มีจิตประกอบด้วยพระมหากรุณาเพื่อนำสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์

References

ไกรฤกษ์ ศิลาคม และศิริวรรณ เกษมศานต์กิดาการ. (2553). พุทธภาวะในทัศนะเถรวาทและมหายาน. วารสารมนุษยศาสตร์, 17(1), 118-131.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิ ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระมหาสมเจต สมจารี (หลวงกัน). (2561). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดพุทธภาวะในพุทธปรัชญา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย

วิทยา ศักยาภินันท์. (2552). อุดมการณ์พระโพธิสัตว์: พุทธจริยศาสตร์เพื่อมหาชน. วารสารมนุษย์ศาสตร์, 16(1), 1-14.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2558). พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2550). พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.

สุวิญ รักสัตย์. (2552). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล๊อก.

เสถียร พันธรังสี. (2543). พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)