ความสุขที่สมบูรณ์

Main Article Content

พระปลัดณรงค์ศักดิ์ วิสุทฺธิเมธี
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทวิจารณ์หนังสือนี้ เน้นเฉพาะในด้านความสุขของคนที่ถือกำเนิดซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของชีวิต หลักการสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้สำหรับวันเกิดที่จะให้มีความหมาย คือ ทำใจให้เกิดเมตตา เกิดศรัทธา เกิดความร่าเริง เกิดความแจ่มใส เกิดความอิ่มใจ เป็นต้น อีกทั้งต้องมีการปฏิบัติต่อความสุขของชีวิตที่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ถูก ยิ่งจะทำให้มีความทุกข์ คือ 1) ไม่เอาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ 2) ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม 3) แม้ในสุขที่ชอบธรรมนั้นก็ไม่ลุ่มหลงมัวเมา และ 4) เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป ดังนั้น เมื่อปฏิบัติอย่างนี้แล้วจะเจริญงอกงาม จนมีความสุขได้ตลอดเวลา ความสุขอย่างนี้เกิดขึ้นโดยปกติก็อาศัยกุศลธรรม เมื่อระลึกถึงขึ้นมาก็เกิดความอิ่มใจ มีปีติ จนกระทั่งมีปัญญา ก็จะทำให้เกิดความมงคลที่แท้จริง พอเกิดกุศลธรรมขึ้นมา นั่นก็คือการเกิดที่ดีที่นำความสุขมาให้ตนเอง

Article Details

บท
ปกิณกะ (Book Reviews)

References

พระครูสถิตพัฒนาทร (ช่วง ฐิตโสภโณ). (2561). กสิภารทวาชสูตร: พุทธวิธีการสอนที่แยบคาย. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 3(2), 15-30.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย จำกัด.

พระมหาวิเชียร สุธีโร. (2562). ความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธมัคค์ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(1), 42-47.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2551). รักแท้ คือ กรุณา. กรุงเทพฯ: สุภา.

_______. (2551). ธรรมะน้ำเอก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ไพศาล วิสาโล. (2563). ทำอย่างไรกับทุกข์และสุข. เข้าถึงได้จาก https://www.pagoda.or.th/aj-visalo/2020-11-04-12-10-30.htm

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2556). วิธีสร้างบุญบารมี. กรุงเทพฯ: สุรวัฒน์.

_______. (2558). ธรรมะประดับใจ. กรุงเทพฯ: สุรวัฒน์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). ความสุขที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.