สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2

Main Article Content

เอกรินทร์ เขียวไปล่
โสภนา สุดสมบูรณ์
สุทธิวรรณ สุทธิวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาและ 4) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 286 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน   
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การบริการที่ดี การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การพัฒนาการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสาร การพัฒนาทีมงาน และการมุ่งผลสัมฤทธิ์
2. การเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางกายภาพและการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทางสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด และการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้เสมือนจริงอยู่ในระดับมาก
3. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในระดับค่อนข้างสูง (r = .616) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการพัฒนาทีมงาน ด้านการบริการที่ดี ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการพัฒนาการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและการสื่อสารส่งผลต่อการเสริมสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยมีอำนาจร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 8 การปฏิรูปครูและอาจารย์. เข้าถึงได้จาก http://www.onec.go.th/th.php/book/BookView/1742

จำลอง นักฟ้อน. (2562). หน่วยที่ 9 การบริหารสมรรถนะทรัพยากรบุคคลในองค์การ. ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 6-10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพิมพ์ อัตตะนันทน์. (2563). อนาคตภาพของพื้นที่การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 156-169.

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในคุยประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 26(1), 111-119.

มานะ ครุธาโรจน์. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคการศึกษา 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 351-369.

เล็ก ขมิ้นเขียว. (2562). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 113-124.

วิชิต แสงสว่าง. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเตรียมคนไทย 4.0 ของโรงเรียนในสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(1), 219-231.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). หลักเกณฑ์และวิธีการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2561-2562. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแม่ฮ่องสอน.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 379-392.

Barrett. (2017). The Holistic impact of classroom spaces on learning in specific subjects. Environment and Behavior, 49(4), 425-451.

Sandris Z. (2018). Needs and expectations of a new learning space: Research students’ perspectives. Australasian Journal of Educational Technology, 34(6), 27-40.

Xianfeng. (2021). Informal learning spaces in higher education: Student preferences and activities. Buildings, 11(2), 1-27.