แนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

ธีรภัทร์ วรคำ
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครู 2) พัฒนาแนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครู เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครู พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การรู้ดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นสามารถจัดลำดับได้ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบและจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัล 2) ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การรู้ดิจิทัล 3) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีโดยใช้การรู้ดิจิทัล 4) ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยทักษะการรู้ดิจิทัลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัล
2. การพัฒนาแนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครู พบว่า มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การรู้ดิจิทัล โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.87 และค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้เท่ากับ 4.86 โดยมีแนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การรู้ดิจิทัล ทั้งหมด 17 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษดากร พลมณี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จริยาภรณ์ ตู้คำมูล. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไชยยา อะการะวัง. (2558). การพัฒนาโมเดล การฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทัศดาว โยงไทยสง. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะครูในการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นภาพร จ่าเมืองฮาม. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). รูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ ชีวิตวิถีใหม่และความฉลาดทางดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=3&l=3

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2564). ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลกับความพร้อมของครัวเรือนไทยผ่านการศึกษา “Digital literacy”. เข้าถึงได้จาก https://www.pier.or.th/abridged/2021/04/

สนธยา หลักทอง. (2562). การพัฒนาโมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัล สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.

_______. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เสาวนีย์ แสงใส. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กศน.ตำบล จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cornell University. Cornell Information Technologies. (2009). What is digital literacy?. Retrieved from https://digitalliteracy.cornell.edu/welcome/dpl0000.html

Hills, P. J. (1982). Dictionary of Education. London: Routledge & Kegan Payi.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

We Are Social. (2021). Southeast Asia: Surviving and Thriving in the Digital Economy 2021. Retrieved from https://wearesocial.com/sg/blog/2021/04/southeast-asia-surviving-and-thriving-in-the-digital-economy