การบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, การประกันคุณภาพ, การพัฒนาบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลประชากร ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จำนวน 45 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินแนวทาง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านการวางแผนอัตรากำลัง และด้านการบำรุงขวัญและส่งเสริมกำลังใจ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า การบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีความต้องการจำเป็น ด้านการวางแผนอัตรากำลังเป็นลำดับที่หนึ่ง รองลงมาคือ ด้านการบำรุงขวัญและส่งเสริมกำลังใจ ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนางานบริหารงานบุคคลของครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 ประกอบด้วย 12 แนวทาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
References
บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พงศ์นที คงถาวร. (2563). แนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิตพล บูระพันธ์. (2553). การพัฒนาบุคลากรโรงเรียนอัสสัมชัญลําปาง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วาสนา บุญมาก. (2561). สรุปผลการรายงานประจำปีของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2561. ลำปาง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อิสรกานต์ ฐตปุญฺโญ. (2558). การบริหารงานบุคคลในองค์กรสมัยใหม่. พุทธจักร, 69(5), 17-28.