ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
ปัจจัยคัดสรร, ผลการดำเนินงาน, การประกันคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน
จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา และจากนั้นสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ ภาวะผู้นำของผู้บริหารและลักษณะของสภาพแวดล้อม โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายหรือร่วมอธิบายความแปรปรวนของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 62 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์ และวิมลมาศ รัตนะ. (2559). ปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชามหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน, 17 มิถุนายน 2559, (หน้า 836-844). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์, ศุภชัย จันทร์งาม และวิมลมาศ รัตนะ. (2559). ปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน, 17 มิถุนายน 2559, (หน้า 836-844). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
กมลทิพย์ ไชยวุฒิ. (2561). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็น.เอ. รัตนะเทรดดิ้ง.
เจนจบ หาญกลับ และสุภัทรา เอื้อวงศ์. (2559). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 17(2), 123-134.
ชธภพ แก้วใจ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย (Symposium) ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12, 12 มีนาคม 2563, (หน้า 261-269). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ชุติมา ทาสุรินทร์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 999-1012.
เทวัน เงาะเศษ และหิรัญ ประสารการ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 13(2), 276-292.
ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ และคณะ. (2561). รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามประกาศกฎกระทรวง พ.ศ. 2561 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 5(1), 308-319.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เมธาพันธ์ กระสังข์สรสิริ. (2563). ปัจจัยสำคัญการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการประกันคุณภาพภายนอก สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ยุทธนา อินต๊ะวงค์ และโสภา อำนวยรัตน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย. ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 1-15.
รวีวรรณ คุณเที่ยง และคณะ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 282-300.
ศรัญญา วันลักษณ์ และพัชรา เดชโฮม. (2564). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 138-150.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. (2564). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.
Rahmania, I., et al. (2020). Implementation of internal quality guarantee system to Increase the quality of education in junior high school 21 malang. Budapest International Research and Critics in Linguistics and Education (BirLE) Journal, 3(1), 421-432.