การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ประชาชน, บริหารพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนประชาชนที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ใช้สูตรทาโร ยามาเน่ จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติ
ค่า t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D. = 0.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลด้านการมีส่วนในการดำเนินการ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีดังนี้ วันทำงานไม่ตรงกันเสียงประชาสัมพันธ์ไม่ค่อยได้ยินเสียง ผู้นำชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่น้อย ประชาชนขาดความรู้และหน่วยงานล่าช้า ประชาชนมีอายุมากแล้วไม่สะดวกเข้าร่วมงานกับชุมชนบ่อย ประชาชนขาดความร่วมมือ ไม่มีความรู้เรื่องแผนการพัฒนาคนในชุมชนยังขาดการประสานงานให้มีส่วนร่วมกิจกรรม
References
การบริหารราชการปกครองท้องที่. (2560). การดำเนินงานการมีส่วนร่วมของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title
ธวัช อินทอง. (2562). การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อศักยภาพการบริหารชุมชนบ้านยกระบัตร อำเมือง จังหวัดสมุทรสาครในให้เป็นเมืองน่าอยู่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยารังสิต.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิร์อร ณชาภิฌาน. (2561). สถานะของแนวนโยบายแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity, world development. New York: Cornell University.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New york: Harper and Row Publication.