การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

ผู้แต่ง

  • กุลนิติ เบ้าจรรยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • สุนทร สายคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, หลักอิทธิบาท 4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 2) ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 การศึกษาครั้งนี้ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ด้านเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล
2. การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการแก้ปัญหา ตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านการทำงานเป็นทีม ตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ตามหลักอิทธิบาท 4
3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ผู้บริหารต้องมีการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พูดจาไพเราะ มีบุคลิกภาพที่ดี มีวิสัยทัศน์สามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการปฏิบัติงานไปสู่เป้าหมายได้อย่างชัดเจน

References

ธวัชชัย ตรีวรชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ในเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 71-81.

บ้านจอมยุทธ. (2564). จริยธรรมของคนไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-2/ethics/07.html

บุญญาพงษ์ ดวงมาลย์ และคณะ. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักพรหมวิหาร 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 250-263.

พรพิมล แก้วอ่อน และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 91-104.

วรปรัชญ์ หลวงโย. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 182-195.

วรวรรษ เทียมสุวรรณ และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 219-231.

วิภาวรรณ แอบกลิ่นจันทร์ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 33-43.

เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)