ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหาร, หลักทุติยปาปณิกสูตร, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 118 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการทำงานเป็นทีม
2. ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ
3. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ผู้บริหารยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล พัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อเทคโนโลยี การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำในการกระตุ้น สร้างขวัญกำลังใจรวมถึงสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
References
กณิษฐา ทองสมุทร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์). (2562). บทบาทของผู้นำในกระบวนทัศน์ใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(1), 297-307.
พรพิมล แก้วอ่อน และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 91-104.
พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว) และสุชน ประวัติดี. (2562). จริยธรรม: ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาตร์ปริทรรศน์, 5(2), 131-145.
พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และเสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2565). มณีแห่งปัญญา: หนังสือคู่มือสำหรับนักบริหาร. เข้าถึงได้จาก https://www.tungsong.com/Read/principle/p_ khunnatam_3.htm
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สตาร์ฟิชแลบซ์. (2565). 5 ทักษะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก https://www.starfishlabz.com/blog/600-5