ภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, หลักทุติยปาปณิกสูตร, โรงเรียนพระปริยัติธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 162 รูป/คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ได้แก่ ด้านแบบอย่างการเป็นผู้นำตามหลักนิสสยสัมปันโน ด้านการจัดการระบบการทำงานตามหลักวิธูโร ด้านการมอบอำนาจตามหลักวิธูโร และด้านการกำหนดทิศทางตามหลักจักขุมา ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ มีดังนี้ ด้านการกำหนดทิศทางตามหลักจักขุมา ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน สามารถกำหนดแผนงาน และบริหารบุคลากรในองค์กรให้มีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ วิสัยทัศน์ และการสื่อสารภายในองค์กรได้อย่างชัดเจน ด้านการมอบอำนาจและด้านแบบอย่างการเป็นผู้นำตามหลักวิธูโร ผู้บริหารควรมอบอำนาจให้แก่บุคลากรอย่างชัดเจน เปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถแสดงศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ ผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดี และด้านการจัดการระบบการทำงานตามหลักนิสสยสัมปันโน ผู้บริหารต้องปรับระบบการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์กร มีแนวปฏิบัติเดียวกัน และบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พระเดวิศณ์ สุขถาวโร (ยิ้มเนียม). (2559). ภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมืองขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดอภิสิทธิ์ ธีรปญโญ (เล็กภิญโญ). (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาศุภสิทธิ์ สุภสิทฺธิ (หลักเพชร). (2560). การบริหารโรงเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการธีระพล โคตรมสิสโส (บุญลาง). (2560). ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). รายงานประจำปีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์.
Krejcie, R. V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.