พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน

ผู้แต่ง

  • พระบุญ ชัยสร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • อินตอง ชัยประโคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, สิทธิมนุษยชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสิทธิมนุษยชนเปรียบเทียบหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา พบว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิ ศักดิ์ศรี เสรีภาพ และความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ที่ต้องได้รับการรับรอง คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งชาติ สิทธิมนุษยชนมีที่มาจากแนวคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติ มีวิวัฒนาการ เพื่อส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิระดับสากล องการสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางให้แก่บรรดาประเทศที่เป็นสมาชิกเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลบวกภายในประเทศนั้น ๆ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ประกอบด้วย 30 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) สิทธิ์ทางการเมือง อันได้แก่ บทบัญญัติข้อที่ 1-21 และ 2) สิทธิ์ทางเศรษฐกิจสังคม ได้แก่บทบัญญัติข้อที่ 22-30 มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเสมอภาพเท่าเทียมกัน มนุษย์มีสิทธิบางประการที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดกระทั้งถึงแก่ความตาย สิทธิดังกล่าวได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ ความเสมอภาคซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ และไม่มีใครที่จะล่วงละเมิดได้ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรกฏในพระไตรปิฎก แม้จะไม่ได้ใช้คำว่า สิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่มีเนื้อหาที่มีนัยของการสอนให้เคารพสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ เช่นสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในชีวิต ความเสมอภาค เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีจุดมุงมายชัดเจน คือ 1) มุ่งให้เกิดประโยชน์ 2) มุ่งให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง และ 3) เน้นให้ปฏิบัติตามทางสายกลาง

References

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2557). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

พรหมชัย ปองขจัดภัย. (2553). แนวคิดสิทธิมนุษยชนในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมหมาย อตฺถสิทโธ (พืชสิงห์). (2558). ศึกษาสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตร ดุษฎีบัณฑิต).

พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Bertrand, J. (2004). Nationalism and ethnic conflict in Indonesia. UK: Cambridge University Press.

Guyatt, N. (2001). Another American century? The United States and the world after 2000. London: Zed Books.

Haas, M. (2008). International human rights. London: Routledge.

Heuveline, P. (2001). The Demographic Analysis of Mortality Crises: The Case of Cambodia, 1970-1979. Retrieved from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK223346/

Hobbes, T. (1985). Leviathan. Penguin Books Limited. Harmondsworth. Middlesex. New York: Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Article)